Sunday, September 09, 2007

1 Year

อีก 9 วันจะครบรอบ 1 ปีรัฐประหาร
อยากให้ลองคิดดูว่า ทั้งหมดนี้มีอะไรดีขึ้นไหม
ดีหรือไม่ดีอะไรอย่างไร

แล้วลองเทียบกับที่ผมเคยพูดมาตลอดว่า
การใช้กำลัง แก้ปัญหาอะไรไม่ได้

รัฐประหาร
ไม่ใช่คำตอบของการแก้ปัญหา
ไม่ใช่แม้กระทั่งทางเลือกสุัดท้าย
เพราะมันไม่ควรได้เป็นทางเลือกใดๆ

Tuesday, October 17, 2006

Building the Better Biz

Is your company tough and tenacious or lithe and limber?
By Robert Kiyosaki
Entrepreneur Magazine - June 2006

There are two interpretations of "survival of the fittest." The first and more widely accepted is the idea of being competent and able--as in being physically fit. The first interpretation fits well with the saying, "Only the strong survive."

The second and less accepted interpretation is survival of the most adaptive or flexible--survival belongs to those that can fit in a new environment.

In January, General Motors Corp. announced it was seeking to cut costs by $11 billion. It plans to achieve these cost savings by reducing worker health-care benefits, letting go of 30,000 workers and closing or consolidating a dozen plants.

In that same month, Google opened an office in Phoenix. Suddenly, local companies were losing IT workers to the high pay and benefits Google was offering.

GM and Google are examples of the two definitions of "survival of the fittest." Suddenly, the biggest and strongest automaker in the world is finding it more difficult to survive, simply because it wasn't flexible or able to adapt. At the same time, Google, a young company, fits into the new economic environment and has become the new 800-pound gorilla of the business world.

The comparison of GM and Google holds valuable lessons for all entrepreneurs. What kind of fit do you and your company want to be? Do you want to be fit by being the biggest and the strongest, or by being adaptive and flexible? Are you building a company that looks like a muscle-bound bodybuilder, or are you building a company that looks like a yoga instructor?

As an entrepreneur, my company's growth and success are dependent on being strong as well as flexible. Adapting means keeping an open mind and not becoming too attached to yesterday's successes. It also means hiring strong and flexible people rather than bodybuilders bulked up with degrees and corporate titles. Though both types are strong, the question is: Which body type and, ultimately, which company type, is best designed for survival?

Common Cause

What's the key to finding the right team? Hire people with a passion for your mission.
By Robert Kiyosaki
Entrepreneur Magazine - May 2006

Entrepreneurs often ask me, "How do I find the right people?" Often my reply is, "First, get rid of the wrong people."

One of your toughest and most important jobs is putting the right team of people together. A friend of mine faced this challenge a year ago--his business had grown quickly but was stagnating. He had brought in a new CEO and CFO, yet sales stayed down and the staff was lethargic. When he asked me what I thought was wrong, I replied, "You hired the wrong people. They're smart and come with excellent business pedigrees, but they're used to the corporate world, not the world of entrepreneurs. More important, they're here for the paycheck, not for your mission. I recommend you let them go."

"I can't do that," my friend said. "I paid a fortune to the headhunting firm to hire and relocate them. And I would have to buy out their contracts. Any other ideas?"

"Sure," I replied. "If you can't fire them and make changes, maybe you're the wrong person in this company."

Years ago, my rich dad told me, "Hire people who are mission-driven--people who share your vision. If you don't, your business will struggle, or may never even get off the ground." He also said, "Big business can afford to hire managers and employees. Entrepreneurs need to hire missionaries."

One of the reasons Steve Jobs is the entrepreneur of the era is because he has missionaries inside his company as well as outside--Apple Computer's customers are missionaries, too. Jobs is successful because he is true to his personal mission and demands the same from his staff. Jobs' mission is at the core of Apple Computer.

I told my friend he was the wrong person simply because he and his staff only paid lip service to the company mission. I reminded him: "Mission comes from the heart, not just the mouth."

The word courage is derived from the French words le coeur, meaning the heart. It is unfortunate that my friend is brilliant in mind, eloquent of tongue, yet weak at heart. Today, the same CEO and CFO are still there. Sales, energy and morale continue to decline. The company is rotting at the core.

When I asked my rich dad for further clarification on hiring people with a passion for your mission, he simply laughed and said, "If you own a butcher shop, don't hire vegetarians."

In Control

Want to lead a happier, healthier and wealthier life? Start by practicing self-control.
By Robert Kiyosaki
Entrepreneur Magazine - October 2006

Most of us have heard the phrase “health, wealth and happiness.” But what actually brings health, wealth and happiness? Is it success, and success alone?

My poor dad was a successful man. He had a Ph.D. and was well-respected and accomplished. But he had poor health, very little wealth and was rarely happy. He smoked two packs of cigarettes a day, eventually dying of lung cancer. He made a lot of money as a government official but never invested it. He wasn’t happy with his success. In his mind, he needed to accomplish more.

So, my thought for you this month: Are you becoming healthy, wealthy and happy? Or are you sacrificing these ideals for success?

Most of us know what to do when it comes to our health and our wealth. Health is primarily about diet and exercise, and wealth is about earning and investing. But happiness is a bit more mysterious. We know to think positively, but thinking positively instead of realistically can have tragic consequences. For example, positive thinking won’t prevent you from going bust if you’re foolish with money, and it won’t reduce your percentage of body fat.

In fact, it’s often the pursuit of happiness that causes the most problems with health and wealth. Many people are obese because they eat and drink to feel happy. And others shop to feel happy, even if it means maxing out credit cards.

Many books discuss the subject of being happy and the factors that affect happiness. One factor in particular helps entrepreneurs lead happier, healthier and wealthier lives: self-control. I’m happier if I have the self-control to do the right things even if I don’t want to do them. In business, sometimes that means studying more instead of working more.

Sometimes we make business decisions because they make us feel happy in the short run. But in the long run, we become less healthy and less happy. Sometimes doing the right thing might not make us happy temporarily, but we feel better later.

To me, doing the right things, even if I don’t want to do them, is one of the keys to being truly happy. Today, whenever I feel unhappy, I simply ask myself, “What am I not doing?” or “What am I avoiding?” Then hopefully, I have the tenacity to do what I know I need to do. That’s the only way we won’t forfeit our health, wealth or happiness in our pursuit of success.

Hear This

Are you in tune with your front line?
By Robert Kiyosaki
Entrepreneur Magazine - September 2006

As a Marine lieutenant in Vietnam, I learned some important lessons--lessons that apply directly to business. One of those lessons was on speaking out, even if what I say may be wrong or unpopular.

Serving as a helicopter pilot, I looked down on many battles and saw the enemy--Viet Cong and the North Vietnamese Army--fighting with more ferocity than the South Vietnamese. One day, after sustaining terrible losses, I asked my commanding officer, “Why do their Vietnamese fight harder than our Vietnamese?” Needless to say, that comment nearly got me court-martialed. It bordered on treason. In the military, you are not to ask why?

Today, some young officers question their leaders. If you haven’t been in battle, you have no idea how frustrating it is to take orders from a civilian thousands of miles away and fight a war.

When we first begin a business, we’re on the front line. If successful, we tend to retreat to the ivory tower and lose touch with the front line--our employees and customers.

Can you take criticism from your workers, customers and associates? Entrepreneurs I’ve met believe they’re in touch with the front line and take criticism well. Still, I have not yet met one entrepreneur who has agreed with the criticism and said, “I can improve in those areas.” That is the real problem.

My commanding officer in Vietnam was a great guy, but he had his hands full. The last thing he needed was a young lieutenant asking questions. But it was an important question, worthy of being pushed up the chain of command. I believe the reason he did not relay the question up the chain of command was simply because they were deaf.

Don’t be deaf to what’s really happening in your business. Entrepreneurs are leaders and should constantly ask themselves questions such as “Can we do something better?” “Are we fulfilling our mission?” “Am I listening to my customers and my employees?” “Am I being told the truth?” As an entrepreneur, your job is to get your workers to work harder than your opponent’s workers. That’s what leaders do.

Top of the Heap

However hard high oil prices hit the economy, you can be prepared.
By Robert Kiyosaki
Entrepreneur Magazine - August 2006

There's an old joke that goes, "A friend of mine told me to cheer up, because things will get worse. So I cheered up, and things got worse."

When things get worse--when the economy takes a downturn--will your business suffer, or will it do better? I say when rather than if because 1) the economy continuously experiences up and down cycles, and 2) the price of oil will stay high.

In 1973, 1974 and 1978, the high price of oil sent shock waves through the economy. Stagflation destroyed many businesses, big and small. So when the economy goes down, will you be prepared?

One of the great things about being an entrepreneur is that you have control of your company. You're the captain--you can tell the helmsman which way to turn your ship and what kind of weather to prepare for. Some questions to ask yourself:

1. With high oil prices, will my business do better or worse?
2. With high oil prices, will my customers do better or worse?
3. How many employees will stay with me, even with a 20 percent pay cut?
4. Can I afford to take a 50 percent pay cut?
5. What can I do so my business will benefit from high oil prices?

If your answers frighten you, it's time to take action. For example, if your customers will do worse with high oil prices, strengthen your relationships with your best customers-and start looking for new customers who will do well with high oil prices.

These five questions are important because wealth and energy have a simple inverse relationship. Generally, when energy prices are low, wealth increases. As energy prices increase, wealth for many decreases. If your customers live in suburbia and commute to work, their wealth will go down as oil prices rise. I'm concerned that high oil prices will severely contract the U.S. economy, which is why my two previous columns were about preparing for tough times ahead.

My company is underwriting two initiatives to prepare for a high oil price economy. We're building a franchise system to reach our customers where they live. And we built Rich Dad TV, a broadcast-quality station that currently operates through our website, so we can stay in touch with our customers on a more personal basis.

In other words, instead of our customers coming to us (or us physically going to them), we're making it easier and less expensive to stay in touch.

Benefit from Boom and Bust

How to profit in a fluctuating economy.
By Robert Kiyosaki
Entrepreneur Magazine - July 2006

As I write, the economy is strong. Yet, as we all know, every boom is followed by a bust. Every up cycle is followed by a down cycle. So when things are good, that's the time to prepare for when things will be bad.

Over the years, I've seen entrepreneurs make three mistakes during boom-and-bust cycles. The first mistake is made when times are good: Entrepreneurs begin to spend. With increased confidence, they expand their businesses, hire more people, buy bigger houses, lease new cars or have more kids.

The second mistake occurs when the economy shifts and business slows down. Suddenly, confidence is shaken, and entrepreneurs begin to save. Cutting back only causes the business to fall faster.

One of the best secrets my rich dad taught me was to save when times are good, and spend when times are bad. In other words, do the exact opposite of what everyone else is doing.

When times are good, save money by paying off bills and improving income-to-expense and asset-to-liability ratios. Make the business financially stronger. Be careful about taking on more debt, especially ego debt, like bigger offices.

When times are bad, don't cut back on sales-generating activities like advertising and promotion. Instead, increase your sales, promotion and marketing budgets. Hire more salespeople and increase sales training. An aggressive outbound sales campaign reverses your fears--it gets energy flowing out and then flowing back to you in the form of sales.

When the economy recovers, a business that has saved money often emerges smaller and weaker. A business that has spent money emerges bigger and stronger, able to expand rapidly.

The third mistake is failing to understand the sales and promotion cycle. My rich dad taught me that it is a six-week cycle, meaning if I do some promotion today, my sales will increase in six weeks. One reason entrepreneurs fail: They're impatient. They do some promotion, but when nothing happens immediately, they think advertising is a waste of money.

Never stop promoting, advertising and selling, whether business is good or bad.

The Sky's the Limit

Flying into the wind, entrepreneurs climb to great heights.
By Robert Kiyosaki
Entrepreneur Magazine - April 2006

A lesson I was taught early in Navy flight school was always to take off and land into the wind. Often, we do not learn a lesson until we test it. When I was a child and my mother said, "Don't touch the stove," it had no meaning until I touched the stove. The same is true with the lesson of taking off and landing into the wind.

One gusty day in Pensacola, Florida, my flight instructor had me taxi my aircraft onto the runway. Instead of taking off into the wind, he had me take off with the wind at my back. I pushed the throttle forward and began rolling down the runway. Soon, I realized my plane did not want to lift off the ground. It dawned on me that we were not going to clear the trees at the end of the short runway. Terror took over, and I froze at the controls.

"I've got it," my instructor said calmly as he popped the aircraft over the trees.

There was a long silence as the little aircraft bounced around the sky. "OK," said my instructor, "now land downwind." Once again, the experience of having the wind at my back was terrifying. After that day, I have never taken the direction of the wind for granted.

I mention this flying lesson because I've noticed that many entrepreneurs never get their businesses off the ground, or successfully take their businesses to the next level, because they don't keep their noses headed into the wind. The same is true when they land, and it often causes them to sell their businesses for less than they are worth.

One of the differences between small-business owners and entrepreneurs is that entrepreneurs keep their businesses headed into the wind. They do not take the easy road. They take on the tougher challenges that small-business owners avoid. They demand their companies deliver better products and services. They do what their competitors won't. They elevate performance standards. And they are always watching for a change in the direction of the wind rather than hoping things will stay the same.

In contrast, many small-business owners like the status quo. Most are content being small. They look for a tail wind and seek the paths of least resistance.

A true entrepreneur is focused on taking off, climbing to higher altitudes and landing. They seek more opportunities, higher valuations and greater returns for their investors and themselves. That is why true entrepreneurs keep the wind in their faces, while small-business owners like the wind at their backs.

Asking For It

Collecting for a good cause may be the sales training your company needs.
By Robert Kiyosaki
Entrepreneur Magazine - March 2006

A number of years ago, I was asked to host a telethon to raise money for PBS. Priding myself on being pretty good at raising money from investors and customers, I accepted the position.

When the first part of the program was over, the cameras were turned on the hostess and me, and we began asking viewers to donate money. We smiled, we talked and we tempted viewers with great bonuses. We did our best... but the phones sat silent.

Cold sweat began trickling down my back, and it wasn't from the bright lights. It was from terror--a terror I had felt before in business and was feeling now because the phones were not ringing.

On the second pledge break, I abandoned my cockiness and began to speak heart-to-heart to the viewers. Slowly but surely, the phones began to ring, and by the third break, we had raised a small but respectable sum of money for PBS.

The ability to raise money is the best skill an entrepreneur can have. If a business is struggling, it's often because the entrepreneur cannot sell or has stopped selling. It's possible the entrepreneur has hired sales staff who claim they can sell, but can't. As my rich dad often said, "Just because someone has the title 'sales executive' or 'vice president of marketing' after their name does not mean they can sell."

When I was starting my career as an entrepreneur, my rich dad suggested I take a job in sales. When I asked him why, his reply was, "Because that is what entrepreneurs do. Never forget: An entrepreneur's success is not measured in college degrees or corporate titles. An entrepreneur's success is measured in OPM [other people's money]."

In 1974, I took my first sales position with the Xerox Corporation. For two years, I could not sell. I asked my rich dad for advice. He suggested I volunteer to raise money for a nonprofit group. For the next year, I worked at Xerox by day, and three nights a week, I dialed for dollars for a charity. Asking for OPM for a worthy cause was my best sales training. There was no exchange--I was asking for money without offering a product or service. I needed to become stronger in my sales and communications skills, and selling over the phone is tougher than selling face-to-face.

If you want to increase sales, donate your sales talents to a worthy cause. If you have salespeople who need to improve, suggest the same to them. After all, a business' success is measured in OPM.

Fear Factor

Think big, and muscle your way into success on a grand scale.
By Robert Kiyosaki
Entrepreneur Magazine - February 2006

While preparing to go to Vietnam in the early '70s, I received some of my best business training. In war, management of fear is constantly the issue. In actual combat, I noticed that fear created cowards out of some, and heroes out of others. Fear made some Marines smarter, while others became fools.

The same is true in business. Whenever I realize I did something stupid in business, it is either because I was too fearful, or not fearful enough. I was either acting too much like Pee-wee Herman or too much like Rambo.

One of the reasons many entrepreneurs stay small is because they act more like Pee-wee Herman. Looking back on my own career as an entrepreneur, I know I would have been far more successful if I were more like Rambo--if I had dreamed bigger dreams, taken on more impossible tasks and had a bigger vision of the possibilities. Too much of the time, I played it too safe.

My rich dad often said, "You cannot see the size of a person by looking at the person. You need to look at their reflection... what surrounds them."

Last November I was in New York City for a meeting with Donald Trump. Walking into his office building took my breath away. His reflection in his building is very big.

Later that day, I was on my way to the CNBC studios. Suddenly, off to my right, I noticed several tall, brand-new buildings with the name "Trump" on them. "Holy Cow!" was all I could say. I could only begin to guess how much work it had taken to clear so much land and erect so many buildings in Manhattan. Just dealing with the unions, city bureaucrats, environmentalists, the media and neighborhood committees would slay mere mortals. As the limo passed the rows of Trump Condominiums, I said to the driver, "Can you believe what Trump has done here?"

The driver smirked and said, "So what? You know he went broke once, so he's not that smart." I realized I was riding with Pee-wee, looking at the work of Rambo... and I was somewhere between the two of them.

As a Marine, I learned that fear, when it takes the form of self-doubt, kills more men than the enemy. The same is true in business--especially in entrepreneurship. Given the choice, I would rather be Rambo.

Minding Your Business

Secure your financial future by thinking like an entrepreneur, not like an employee.
By Robert Kiyosaki
Entrepreneur Magazine - January 2006

In October 2005, I was in New York City, speaking on the business of real estate and real estate investing. One of the other keynote speakers was Donald Trump. After my talk, a young man came up to me and said, "Nice talk, but you can't do what you talk about here in New York City."

Doing my best to be polite, I replied, "Well, Donald Trump is doing it."

"Yeah, yeah," said the young man. "You guys talk about it, but I know you can't do it."

Having heard this wimpy argument often (no matter where I was in the world), I shot back, "You're right. You can't do that here. But I can, and I would if I lived in New York City. And Donald Trump is definitely doing what you say can't be done."

One reason that young man and people like him say, "You can't do that" or "I would, if I had the money" is because they are thinking like employees, not like entrepreneurs.

Simply put, entrepreneurs focus on opportunity, while employees focus on resources such as money, people and time. For example, a person who thinks like an employee will say "I can't do it, because I don't have the money." A person who thinks like an entrepreneur will say "Let's tie up the deal and find the money later."

Even though you're an entrepreneur, you may still be thinking with an employee mind-set. And you can't change your business--and the results you get from your business--until you change your way of thinking.

For those of you who are unfamiliar with Rich Dad Poor Dad, it's my story of growing up with two "dads"--and two perspectives on money, finance and investing. My real dad--who I call my poor dad because, ultimately, he died broke--was a hardworking, well-educated man who was Hawaii's super-intendent of education. He believed you should get a good education, find a good job with good benefits, and let the government take care of you once you retired.

My rich dad, the father of my best friend, had little formal education but the spirit of an entrepreneur, and he became one of the richest men in Hawaii. My rich dad forbade his son and me from saying "That's impossible." He said, "In business, when you say 'That's impossible,' your competition is saying 'We can do that.'" So he had us ask ourselves, "How can I do it?"

My rich dad's point was that changing our thoughts would change our lives. He said, "Whenever you say 'I can't,' that means you are at the boundary between what you can and can't do. When you ask yourself 'How can I do something?' you open your mind to new ideas and expand the possibilities of your life."

So the next time you hear yourself saying "I can't" or "That's impossible," remember that you are thinking like an employee and need to begin thinking like an entrepreneur.

Wednesday, June 21, 2006

ว่าจะไม่เขียนถึงแล้ว แต่ทนไม่ได้ save เก็บไว้ดีกว่า เพราะผมพบว่า ยังมีคนจำนวนมาก ที่ไม่สามารถ แม้แ่ต่จะคิดออกนอกกรอบที่เคยเรียนมาได้ ส่วนเรียนเรื่องอะไร และกรอบอะไรนั้น ลองคิดดูหลังอ่านบทความนี้จบละกัน


ในพระปรมาภิไธย และพระบรมราชโองการ

ผมไม่ทราบเจตนาที่แท้จริงของผู้ที่ยกเอาพระราชอำนาจขึ้นมากล่าวถึงอย่างกว้างขวางเมื่อไม่นานมานี้ แต่ผมพบว่าข้อถกเถียงทั้งหมด ก่อให้เกิดความสับสนในประเด็นที่มีความสำคัญต่อระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

และผมทะเยอทะยานที่จะหาหลักสำหรับสร้างความชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องนี้

ถ้าว่าตามกฎหมายแล้ว สถาบันพระมหากษัตริย์ของไทยมีอำนาจเท่าที่กฎหมายกำหนดไว้เท่านั้น ยิ่งไปกว่านั้น ยังอาจกล่าวได้ด้วยว่า พระราชอำนาจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะบุคคลแทบจะไม่ได้แตกต่างจากบุคคลธรรมดาอื่นๆ เลย ซ้ำร้าย ยังถูกลิดรอนสิทธิ์บางอย่างอีกด้วย เช่น ทรงเษกสมรสกับหญิงต่างชาติไม่ได้ ทรงนับถือศาสนาอื่นนอกจากพระพุทธศาสนาไม่ได้ เป็นต้น

ผมไม่ปฏิเสธนะครับว่า ไม่ว่าสถาบันหรือบุคคล ย่อมมี "อำนาจ" หรือไร้ "อำนาจ" นอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนดทั้งนั้น เช่น พ่อมี "อำนาจ" เหนือลูก, ครูและผู้อาวุโสเหนือศิษย์และผู้เยาว์ ชายเหนือหญิงในบางเรื่อง เป็นต้น ฉะนั้น จึงไม่แปลกที่สถาบันพระมหากษัตริย์ย่อมทรงไว้ซึ่งอำนาจนอกจากที่กฎหมายกำหนดอีกมาก เช่น เมื่อเป็นที่เคารพสักการะ ก็ย่อมมีอำนาจทางวัฒนธรรมสูง

แต่ที่ถกเถียงอภิปรายกัน ไม่ได้มุ่งจะหมายถึงพระราชอำนาจทางวัฒนธรรม, ทางศีลธรรม หรือทางเศรษฐกิจ แต่หมายถึงพระราชอำนาจตามโครงสร้างการเมืองการปกครองที่เป็นทางการ

พระราชอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ตามที่กฎหมายกำหนดนั้นมีหลายอย่าง นับตั้งแต่แต่งตั้งบุคคลดำรงตำแหน่งต่างๆ ไปจนถึงการพระราชทานอภัยโทษผู้ต้องคดี และทรงใช้อำนาจอธิปไตยซึ่งเป็นของปวงชนชาวไทย

และหลักที่จะยึดเกี่ยวกับพระราชอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ก็อยู่ตรงนี้แหละครับ คือทรงใช้หรือเป็นตัวแทนของอำนาจอธิปไตยอันเป็นของปวงชนชาวไทย

จะว่าเป็นอำนาจศักสิทธิ์ หรืออำนาจสูงสุดก็ได้ เพราะเป็นอธิปไตยของปวงชน

ผมเคยได้ยินท่านผู้พิพากษาบางท่านย้ำเสมอว่า ท่านพิพากษาคดีในพระปรมาภิไธย ซึ่งถูกต้องตามหลักการ แต่จะเข้าใจผิดไม่ได้ว่าพิพากษาแทนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะบุคคล มิฉะนั้น พระองค์ก็ต้องเข้ามารับผิดชอบกับคำพิพากษาด้วย เรื่องมันจะมิยุ่งกันใหญ่หรือครับ

แต่คำพิพากษาที่ทำในพระปรมาภิไธยนั้น ก็เพราะอำนาจตุลาการเป็นอำนาจอธิปไตยของปวงชน อย่าลืมนะครับว่าคำพิพากษาของศาลนั้นคือการละเมิดสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของพลเมือง เช่น ปรับ, เอาตัวไปจำขัง, หรือประหารชีวิต เรื่องใหญ่ขนาดนี้ต้องอิงอาศัยอำนาจของประชาชน หรือที่เราเรียกว่าอธิปไตยเท่านั้น

ที่ต้องแยกอำนาจตุลาการออกเป็นอีกส่วนหนึ่งของอธิปไตยก็เพราะเหตุนี้ เนื่องจากคำพิพากษาย่อมกระทบถึงสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของพลเมือง อำนาจตุลาการจึงต้องงอกออกมาจากอำนาจอธิปไตยโดยตรง ไม่ผ่านอำนาจนิติบัญญัติหรือบริหาร

พระปรมาภิไธยเป็นเครื่องหมายถึงอำนาจอธิปไตยของปวงชน เตือนให้ผู้พิพากษาสำนึกถึงฐานที่มาของอำนาจในคำพิพากษา จึงต้องใช้อำนาจนั้นอย่างรอบคอบและเที่ยงธรรม เพื่อประโยชน์สุขของสังคมหรือปวงชน

พูดกันตรงไปตรงมาก็คือไม่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ที่เป็นบุคคล แต่เกี่ยวอย่างแยกไม่ออกจากอธิปไตยของปวงชน ซึ่งพระมหากษัตริย์ในฐานะที่เป็นสถาบันทรงใช้แทนปวงชน

ในทำนองเดียวกัน สิ่งที่เรียกว่าพระบรมราชโองการ โบราณอาจมีความหมายอย่างหนึ่ง แต่ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ย่อมหมายถึงคำสั่งที่อาศัยอำนาจอธิปไตยของปวงชนสั่ง

นั่นคือกฎหมายระดับ พ.ร.บ.ทุกฉบับจึงเป็นพระบรมราชโองการ เช่นเดียวกับประมวลกฎหมายอาญาและแพ่งพานิชย์ ในทางปฏิบัติคือต้องผ่านสภาผู้แทน และทรงลงพระปรมาภิไธย

กฎหมายเหล่านี้ย่อมจำกัดสิทธิเสรีภาพบางประการของปวงชน (เช่น ห้ามลักขโมย หรือห้ามค้าประเวณีประเจิดประเจ้อ) ดังนั้น จึงต้องอาศัยอำนาจอธิปไตยของปวงชนเท่านั้น จึงจะสั่งให้มีข้อจำกัดต่อเสรีภาพเหล่านั้นได้

และด้วยเหตุดังนั้น จึงต้องเป็นพระบรมราชโองการ ซึ่งเป็นเครื่องหมายถึงอำนาจอธิปไตยดังกล่าว

(ผมยอมรับว่ามีการปฏิบัติที่หละหลวมจากหลักการนี้ เช่น กฎกระทรวงซึ่งไม่ใช่พระบรมราชโองการ ควรเป็นเพียงคำสั่งในการบริหารที่ไม่จำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน แต่สภาชอบออก พ.ร.บ.ที่ให้อำนาจฝ่ายบริหารไว้ให้ออกระเบียบหรือกฎกระทรวงตามมาไว้กว้าง บางครั้งก็จำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนมากกว่าตัว พ.ร.บ.เสียอีก แม้ว่าระเบียบหรือกฎเหล่านี้อาศัยอำนาจจาก พ.ร.บ. ซึ่งเป็นพระบรมราชโองการ แต่ก็ห่างออกมาจากอธิปไตยของปวงชนไปอีกขั้นหนึ่งแล้ว จึงต้องระวังไม่ให้อำนาจไว้เกินความจำเป็นของการบริหารให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.)
ถ้าว่าตามกฎหมายแล้ว สถาบันพระมหากษัตริย์ของไทยมีอำนาจเท่าที่กฎหมายกำหนดไว้เท่านั้น ยิ่งไปกว่านั้น ยังอาจกล่าวได้ด้วยว่า พระราชอำนาจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะบุคคลแทบจะไม่ได้แตกต่างจากบุคคลธรรมดาอื่นๆ เลย ซ้ำร้าย

พระบรมราชโองการอีกประเภทหนึ่งคือ แต่งตั้งบุคคลดำรงตำแหน่ง

ผมคิดว่าหลักการก็อันเดียวกัน ตำแหน่งสาธารณะที่พึงได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้ง ควรเป็นตำแหน่งที่เกิดจากอำนาจอธิปไตยของปวงชน

ตัวอย่างที่เห็นได้ง่ายๆ ก็ เช่น นายกรัฐมนตรี และ ครม. เพราะบุคคลเหล่านี้ได้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวเนื่องจากสภาผู้แทนราษฎรมีมติเสนอชื่อขึ้นกราบบังคมทูล และสภาก็มาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรง จึงเป็นเรื่องอำนาจอธิปไตยของปวงชนโดยตรงเช่นกัน

ที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งบุคคลเหล่านี้ให้ดำรงตำแหน่งก็เพราะมีที่มาจากอธิปไตยของปวงชนชาวไทย แต่ ส.ส.ไม่ต้องมีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง เพราะประชาชนได้ใช้อำนาจอธิปไตยของตัวโดยตรงในการเลือกตั้งแล้ว ไม่ได้ใช้ผ่านตัวแทน

ผู้ว่าการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินก็เช่นกัน ได้รับเลือกสรรจากวุฒิสภา จึงเป็นตำแหน่งที่สืบเนื่องกับอำนาจอธิปไตยของปวงชน และต้องมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้เป็น ในขณะที่ครูระดับสามได้รับแต่งตั้งจากผู้บริหารของกระทรวงศึกษา เป็นการบริหารงานภายในของกระทรวงเอง ไม่เกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยของปวงชน จึงไม่ต้องมีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง

คำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญว่ากระบวนการสรรหาผู้ว่าการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงมีความซับซ้อนมากกว่าจะตัดสินไปง่ายๆ ว่า เหตุดังนั้น ผู้ดำรงตำแหน่งอยู่ในขณะนั้นจึงอยู่ในฐานะเท่ากับยังไม่ได้ดำรงตำแหน่ง เพราะไม่ว่ากระบวนการจะผิดหรือถูกกฎหมายอย่างไรก็ตาม ได้ผ่านวุฒิสภาซึ่งเป็นส่วนสำคัญอีกอันหนึ่งของอำนาจอธิปไตยไปแล้ว และการที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑะกา เป็นผู้ว่าการ ก็เท่ากับได้รับการรับรองจากอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยอย่างแน่นอน

ข้ออ้างของคุณหญิงว่า เมื่อมีพระบรมราชโองการแล้ว จะให้พ้นจากตำแหน่งต้องมีพระบรมราชโองการถอดถอนเสียก่อนเท่านั้น ท่านจะมีความเข้าใจว่าอย่างไรผมไม่ทราบ แต่ความเข้าใจของผมไม่สู้ตรงกับที่หนังสือพิมพ์และคนที่เชียร์คุณหญิงเท่าไหร่นัก

เพราะท่านเหล่านั้นพูดให้เข้าใจว่า พระบรมราชโองการเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ฝืนไม่ได้ เพราะออกมาจากองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะ แต่ผมคิดว่าความเข้าใจอย่างนี้ผิด และก่อให้เกิดภัยพิบัติแก่ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอย่างยิ่ง

ในระบอบนี้ พระมหากษัตริย์จะไม่ทรงมีพระบรมราชโองการใดๆ ทั้งสิ้น ถ้าไม่ได้เป็นการใช้อำนาจอธิปไตยของปวงชน (เช่น ทรงสั่งให้ออกรถพระที่นั่งได้ ไม่ใช่พระบรมราชโองการ แต่เป็นรับสั่งธรรมดาเท่านั้น) ฉะนั้น พระบรมราชโองการแต่งตั้งคุณหญิงจึงเป็นคำสั่งของอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย ซึ่งไม่มีอะไรจะใหญ่เกินไปได้ รวมทั้งศาลรัฐธรรมนูญด้วย

ดังนั้น ผมจึงเห็นด้วยกับความเห็นของ ส.ว. ท่านหนึ่งที่กล่าวว่า หากปฏิบัติตามคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญอย่างไม่รอบคอบ ก็เท่ากับปล่อยให้ศาลรัฐธรรมนูญเข้ามาใช้อำนาจวินิจฉัยจำกัดอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ (ซึ่งเป็นอธิปไตยของปวงชน) ที่ไม่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ

อำนาจวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่จะมีเหนือสภาได้ มีอยู่อย่างเดียว คือวินิจฉัยว่าการดำเนินงานของสภาละเมิดรัฐธรรมนูญหรือไม่เท่านั้น

เรื่องนี้จึงไม่ง่ายที่จะด่วนตัดสินว่า คุณหญิงยังไม่ได้เป็นผู้ว่าการ ทั้งๆ ที่มีพระบรมราชโองการแล้ว เพราะเนื้อแท้แล้วเป็นการถ่วงดุลกันระหว่างอำนาจอธิปไตยสองด้าน ซึ่งถ้าดำเนินการผิดจะกลายเป็นต้นแบบให้อำนาจอธิปไตยบางด้านของปวงชนถูกจำกัดลง

ผมจึงเห็นด้วยกับข้ออ้างของคุณหญิง ที่ว่า ต้องมีพระบรมราชโองการถอดเสียก่อน (แต่อาจจะด้วยเหตุผลที่ต่างกัน) เพราะพระบรมราชโองการที่แต่งตั้งคุณหญิงเป็นการใช้อำนาจอธิปไตย หากจะเปลี่ยนแปลงใดๆ ก่อนวาระ ก็ต้องผ่านอำนาจอธิปไตยก่อน นั่นคือวุฒิสภาต้องมีมติที่ชัดเจนให้ถอดและกราบบังคมทูลให้มีพระบรมราชโองการถอด เนื่องจากพระบรมราชโองการ คือ อำนาจอธิปไตยของปวงชน จะเปลี่ยนแปลงเพิกถอนได้ก็ด้วยอำนาจอธิปไตยของปวงชนเท่านั้น ไม่ใช่การตีความของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และไม่ใช่พระราชดำริส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์ในฐานะบุคคล

อย่างไรก็ตาม มีความสับสนในระบบแต่งตั้งในเมืองไทยว่า เมื่อไรจึงควรเป็นพระบรมราชโองการ เมื่อไรควรเป็นเพียงคำสั่งของรัฐมนตรี เพราะเรารับเอาประเพณีของสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาใช้ โดยไม่จับหลักเรื่องอธิปไตยของปวงชนให้มั่น (อันที่จริงหลักอธิปไตยของปวงชนก็ถูกกระทำชำเรายับเยินจากคณะทหารที่ใช้กำลังเข้ายึดอำนาจ และเหล่าเนติบริกรซึ่งเป็นสมุนรับใช้ เป็นส่วนใหญ่ในช่วงที่เรามีระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข)

การได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสูงๆ โดยพระบรมราชโองการจึงถือเป็นเกียรติยศ ระบบราชการเลื่อนเปื้อนไปว่าตำแหน่งสูงๆ ทั้งหมดต้องเป็นพระบรมราชโองการ ทั้งๆ ที่การเข้าสู่ตำแหน่งเหล่านั้นล้วนเป็นการใช้อำนาจบริหารภายในของราชการเอง ไม่เกี่ยวอะไรเลยกับอำนาจอธิปไตยของปวงชน

เช่น ตำแหน่งศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัย ยังต้องมีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง ไม่ได้เกี่ยวอะไรเลยนะครับกับอำนาจอธิปไตยของปวงชน ทั้งการใช้อำนาจของศาสตราจารย์ (ถ้าจะมี) ก็ไม่กระทบอะไรกับอำนาจอธิปไตยของปวงชนด้วย พระบรมราชโองการแต่งตั้งจึงเป็นเรื่องเกียรติยศของผู้ได้ดำรงตำแหน่งเท่านั้นไม่มีหลักอะไรมากไปกว่านั้น

หลักการเกี่ยวกับเรื่องของพระปรมาภิไธยและพระบรมราชโองการนั้น ผมคิดว่ามีความสำคัญในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอย่างยิ่ง ไม่ควรปล่อยให้สับสน เพราะจะเป็นอันตรายร้ายแรงต่อระบอบประชาธิปไตยและสถาบันพระมหากษัตริย์ทั้งสองอย่าง

เช่น จากความสับสนในเรื่องนี้ มีผู้เสนอให้ "คืนพระราชอำนาจ" เพื่อแก้ปัญหาบ้านเมือง

ลัทธิ "คืนพระราชอำนาจ" นั้น เพิ่งเกิดในเมืองไทยหลัง พ.ศ. 2500 คือหลังการยึดอำนาจของ สฤษดิ์ ธนะรัชต์ และมักใช้กันเป็นประจำในหมู่ผู้ที่คัดค้านต่อต้านรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารหรือการเลือกตั้ง เนื่องจากเป็นการคัดค้านต่อต้านที่มีอันตรายน้อยที่สุด นั่นคือสมัยก่อนจะกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ก็ไม่ได้ ในสมัยหลังจะว่าเป็นหน้าม้าของฝ่ายค้านก็ไม่ได้

แต่นับจาก พ.ศ.2500 เป็นต้นมาเช่นกัน ที่เราจะพบว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ถูกนักการเมือง (ทั้งในและนอกระบบ) ใช้เป็นข้ออ้างในการเผด็จอำนาจบ้าง หรือรังแกศัตรูทางการเมืองของตนบ้าง หรือทั้งสองอย่างพร้อมๆ กัน โดยสังคมไม่อาจตรวจสอบทัดทานได้ และในขณะเดียวกัน ก็ก่อปัญหาให้แก่สถาบันพระมหากษัตริย์เอง (ดังเช่นการใช้คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเป็นเครื่องมือรังแกศัตรูของตน ก่อให้เกิดความยากลำบากแก่สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นอันมาก เนื่องจากเป็นกฎหมายอาญา ผู้ที่จะพิจารณาตัดสินใจฟ้องร้องจึงล้วนอยู่นอกสถาบันพระมหากษัตริย์ทั้งสิ้น แต่สถาบันกลับเป็นผู้รับผลกระทบทางสังคมจากการฟ้องร้องไปเองแต่ผู้เดียว)

ฉะนั้น ถ้าอดีตจะช่วยให้เราคาดเดาอนาคตได้บ้าง การ "คืนพระราชอำนาจ" ในการเมืองไทยจึงมีความหมายแต่เพียง อำนาจเปลี่ยนมือจากกลุ่มที่ถืออยู่ไปยังกลุ่มที่ต่อต้านคัดค้านเท่านั้น

ถ้าใช้สำนวนของนักคิดคนสำคัญของไทยท่านหนึ่งก็คือ "อัปรีย์ไป จัญไรมา" โดยสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่ได้พระราชอำนาจกลับคืนไปจริงแต่อย่างใด

ยังมีความจริงที่ควรสำเหนียกกันด้วยว่า การ "คืนพระราชอำนาจ" ไม่ได้หมายถึงคืนพระราชอำนาจ (ของพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์) ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ในรัชกาลปัจจุบัน แต่หมายถึงคืนพระราชอำนาจนั้นแก่สถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งก็ตั้งความหวังกันว่าจะดำรงอยู่คู่กันไปกับชาติไทยอีกนานเท่านาน

จริงอยู่หรอกที่ว่า ไม่ว่าจะเป็นระบอบปกครองอะไร ตราบเท่าที่มีคนดีคนเหมาะสมมาถืออำนาจปกครองบ้านเมืองได้ เป็นดีที่สุด แต่จุดอ่อนอย่างหนึ่งของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งแม้แต่ผู้นำของระบอบนั้น เช่น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ เองก็ทรงตระหนักเช่นกันคือ ไม่มีหลักประกันอะไรในระบอบนั้นที่ผู้ซึ่งจะดำรงตำแหน่งพระเจ้าแผ่นดินจะเป็นคนดีหรือเหมาะสมเสมอไปทุกรัชกาล

ฉะนั้น ลัทธิ "คืนพระราชอำนาจ" จึงเป็นภัยร้ายแรงแก่ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข กล่าวคือ อันตรายทั้งแก่ระบอบประชาธิปไตยและสถาบันพระมหากษัตริย์เหมือนกัน

เคยได้ยินเรื่องกษัตริย์เยอรมันพระองค์หนึ่งปฏิเสธการ "คืนพระราชอำนาจ" ไหมครับ ท่านดำรัสว่า "เราไม่อาจรับมงกุฎจากมือลิงได้" อาจฟังดูยโสโอหัง แต่ที่จริงแล้วถูกต้องตามหลักการเป๊ะเลย นั่นก็คือ ถ้าพระราชอำนาจในระบอบสมบูรณาญาสิทธิ์อาจ "ถวาย" ได้ ผู้ถวายย่อมเรียกคืนเมื่อไรก็ได้ ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้นก็ไม่ใช่สมบูรณาญาสิทธิราชย์มาตั้งแต่ต้น

นิธิ เอียวศรีวงศ์ (30.12.2005)

Thursday, July 28, 2005

In this moment, I always use blog from msn. It's not because it's better but after I try to change blogger template by myself, I gave up. I looked for a good template but I don't see the one I like so now I use space from msn. The bad thing of space (blog from msn) is it required IE to browse the pages. If I use firefox. I can't do much in it. So I wish I'll find the solution soon.

Monday, May 16, 2005

17 May 2005

13 years ago, In May 1992 (The Black May), a new era of thai history had begun after civilian war. So many people was dead but somehow it's good for a new generation people. We were able to get freedom and human right but now we have question ourselves about present political situation. Control of Corruption, Freedom of Press, Rule of Law and Government Effectiveness are a big problem. When I see Worldbank research it makes me wanna change the goverment but how can I do cause it's just past 3 months of election's day. Hope that after next 4 years, we won't get the same party to control the country.

A good news is I can see a new starwars episode on this Thursday (19 May) although if I was in usa I could see this film since last Thursday but a bad news is I still feel bad with movie thearter around me especially major cineplex and egv so where can I go to see this film. Have to think about it.

Tuesday, May 10, 2005

บทสรุปบทความทั้ง 4

ซึ่่งทั้งหมดเป็นของ ไมเคิล ไรท์ ที่เขียนลงในมติชนสุดสัปดาห์ เป็นบทความที่น่าสนใจนำมาวิเคราะห์ต่ออย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของศาสนาหรือประวัติศาสตร์ ซึ่งมีึความเีกี่ยวพันกัน อย่างแยกไม่ออก ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะว่า ผมไม่เชื่อว่าประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ เขียนขึ้นมาโดยไม่มีอคติ ดังนั้น การศึกษาประวัิติศาสตร์ โดยเฉพาะ ในระบบการศึกษาไทย ย่อมกลายเป็น การศึกษาอคติ ของผู้เีขียนหรือแต่งประวัติศาสตร์นั้นๆ ซึ่งแน่นอนว่า ไม่ว่าใครจะเขียนหรือแต่ง รัฐมีส่วนรู้เห็น และอนุญาต ทำให้ ไม่สามารถ เชื่อได้ว่า รัฐมีความจริงใจกับประชาชน พลเมือง หรืออะไรก็แล้วแต่ แต่อย่ามาเรียกว่าราษฎรเป็นอันใช้ได้ เพราะผมไม่ใช่สมบัติของใคร ...... อีกส่วนหนึ่ง คือเรื่องของศาสนา และความจริงที่ว่า จำนวนคนที่ไม่นับถือศาสนา มีจำนวนมากขึ้นทุกวัน โดยที่ ไม่สามารถกล่าวได้ว่า คนที่ไม่นับถือศาสนานั้น เป็นคนไม่ดี เพราะโดยส่วนตัว ผมเป็นคนหนึ่ง ที่กล้าพูดเต็มปากว่า ไม่ได้นับถือศาสนา และคิดว่าศาสนาเป็นเครื่องมือของชนชั้น ในการปกครอง รวมถึงเป็นเครื่องมืออื่นๆตามแต่ ผู้ใดคิดจะใช้ประโยชน์จากศาสนานั้นๆ การศึกษาศาสนาอย่างเป็นกลาง ทำให้เราค้นพบทั้งจุดอ่อนและจุดแข็งของศาสนา แต่ไม่อาจสรุปได้ว่า ศาสนาคือความจริง .......... เพราะเราคงต้องมานิยามกันว่า ความจริงคืออะไร แล้วความจริงของอะไรที่เป็นความจริงบ้าง รวมถึงถ้ามีซักศาสนานึง ที่เป็นความจริง แล้วศาสนาอื่นๆหล่ะ เราจะมีความจริง ที่ขัดแย้งกันได้จริงๆน่ะหรือ เป็นเรื่องที่น่าสนใจและน่านำมาขบคิดมาก

ปัญหาประวัติศาสตร์ไทย

ความนำ

ในปัจจุบันประวัติศาสตร์สยาม/ไทย ได้รับความสนใจมาก, ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่ดีจริง, ดีกว่าที่คนจะเฉยเมยไม่สนใจดังเป็นมาก่อน ในขณะเดียวกันประวัติศาสตร์ยังกลายเป็นที่เดือดร้อนทะเลาะเบาะแว้งกัน (ถึงเผาพริกเผาเกลือ)

นักวิชาการเสรีนิยมสมัยใหม่เห็นว่าประวัติศาสตร์เหมือนวิชาอื่นๆ ที่ต้องถกเถียงตามหลักฐานที่มีอยู่, และพลิกแพลงเปลี่ยนได้ตามความรู้ใหม่, ความเข้าใจใหม่, และการแลกเปลี่ยนกันระหว่างสาขาวิชาต่างๆ (Inter-disciplinary Studies)

แต่นักวิชาการฝ่ายอนุรักษนิยม (รวมทั้งชาวบ้านที่ไม่รู้อีโหน่อีเหน่) ต่างอ้างว่า ประวัติศาสตร์เป็นเรื่อง "ศักดิ์สิทธิ์" ที่ตายตัว, แตะต้องหรือคิดใหม่ไม่ได้


เรื่องนี้น่าสนใจมาก, ว่าทำไมคนไทยบางคนเกิดเป็นโรคจิตผวาขึ้นมาในเมื่อเผชิญกับข้อถกเถียงหรือสงสัยทางประวัติศาสตร์ ?

ผมพยายามศึกษาเรื่องนี้ (อย่างเบื้องต้น) แล้วพบปมประเด็นอย่างน้อยสามประการคือ :-

1) ความศักดิสิทธิ์, ปัญหาเดิม


อาจารย์คึกฤทธิ์ เคยสังเกตมานานแล้วว่า ชาวบ้านสยาม/ไทย โดยมากนับถือพุทธและผี, แต่รัฐสยาม/ไทย นับถือพราหมณ์/ฮินดู

ตามหลักพราหมณ์/ฮินดูนั้น อดีตเป็นเรื่องศักดิ์สิทธิ์ตายตัวว่าด้วยเทพฤทธิ์ที่ปรากฏในคัมภีร์ปุราณะและมหากาพย์ (รามายณะและมหาภารตะ) สวนพระมหากษัตริย์อาจจะสร้างกฤษฎาภินิหารที่ปรากฏตามพงศาวดารบ้าง, แต่ชาวบ้านไม่สร้างประวัติศาสตร์, ไม่มีประวัติศาสตร์, และไม่รู้หรือสนใจประวัติศาสตร์

นี่คือหลักการพราหมณ์/ฮินดู ที่กรุงศรีอยุธยาสืบทอดมาจากพระนครธม กรุงเขมร ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 18-19, และยังเป็นปัญหาการศึกษาของไทยตลอดจนถึงปัจจุบัน ตามหลักการนี้ วิชาความรู้ไม่ได้เป็นเรื่องสาธารณะของประชาชน, หากเป็นสมบัติผูกขาดของพราหมณ์ ซึ่งท่านในฐานะ "ครู" อาจจะประทานให้กับศิษย์สามัญชนตามแต่จะเห็นชอบ, หรือยับยั้งไม่ประทานก็ได้ สามัญชนไม่มีสิทธิ์ศึกษากันเอง

นี่คือปัญหาขั้นพื้นฐานของประวัติศาสตร์ไทย

2) ยุคจักรวรรดินิยม

ในครึ่งหลัง คริสต์ศตวรรษที่ 19 และครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 20 นักล่าเมืองขึ้นชาวอังกฤษและฝรั่งเศส ต่างเข้ามาศึกษาประวัติศาสตร์สยาม/ไทย พร้อมกับเจ้านายสยาม, แล้วสรุปผลออกมาอย่างที่รู้ๆ กันอยู่

ประวัติศาสตร์สยาม/ไทย ที่อุปโลกน์ขึ้นมาในยุคนั้น เกิดจากการมองอดีตด้วยสายตาจักรวรรดินิยม (โรมัน, ฝรั่งเศส, อังกฤษ) ซึ่งไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในอุษาคเนย์สมัยโบราณ จึงผิดเพี้ยนไม่ถูกต้อง

อย่างไรก็ตาม จะโทษฝรั่งก็ไม่ควร, เพราะเขาย่อมมองโลกตามที่อัตวิสัยและภววิสัยปรุงแต่ง, คือมองจากผลประโยชน์และมุมมองเฉพาะของตนในยุคนั้น

ส่วนเจ้านายสยามก็ยิ่งโทษไม่ได้ เพราะท่านถูกความคิดร่วมสมัย (จักรวรรดินิยม) ครอบงำเหมือนกัน เพราะเห็นประจักษ์ว่าในยุคนั้นไม่มีใครในโลกจะต้านทานอังกฤษและฝรั่งเศส, แม้กระทั่งแผ่นดินจีน

ถ้าจะโทษใคร ก็เห็นจะต้องโทษคนรุ่นหลังที่นำ ข้อสันนิษฐานของ ร.6, กรมพระยาดำรงฯ และเซเดส์ มาผูกขาดเป็นคัมภีร์หลักสูตร และสอนกันจนทุกวันนี้ โดยไม่เปิดเวทีให้มีการคิดค้นใหม่หรือวิเคราะห์ ผู้กล้าคิดค้นใหม่และวิเคราะห์โดยมากจึงต้องทำงานนอกระบบหรือ "ใต้ดิน" ดังนี้น่าละอายจริงๆ

3) ยุคฟาสซิสต์

ในยุค จอมพลแปลก (สงครามโลกครั้งที่ 2) หลวงวิจิตรวาทการ ได้นำประวัติศาสตร์ที่เขียนขึ้นมาตามหลักจักรวรรดินิยมมาผนวกกับลัทธิคลั่งชาติของฟาสซิสต์ อิตาลี, นาซีเยอรมัน, และทหารนิยมของญี่ปุ่น

จะโทษท่านได้ยาก, เพราะยุคนั้น อิตาลี, เยอรมัน และญี่ปุ่น อยู่ในขาขึ้น และดูเหมือนกับว่าเป็นเจ้าของอนาคตในขณะที่จักรวรรดิอังกฤษและฝรั่งเศสอยู่ในขาลงอย่างเห็นได้ชัด

อย่างไรก็ตาม "ประวัติศาสตร์คลั่งชาติ" เป็นพิศกาฬกูฏที่ทำลายความสามัคคีที่แท้จริง แล้วสร้างสามัคคีเทียมโดยสมมติว่า ประเทศหนึ่งประกอบด้วยเชื้อชาติเดียว, ภาษาเดียว, วัฒนธรรมเดียว, ซึ่งไม่เป็นความจริง

ความคลั่งชาติ และการสอนประวัติศาสตร์เชื้อชาตินั้น เป็นโรคจิตชนิดหนึ่งที่สร้างความสับสน, ความแตกแยก และความระส่ำระสายให้สังคมโดยทั่วไป, และทำให้คนในสังคมจำนวนมากไม่สามารถ (หรือไม่กล้า ?) เผชิญหน้ากับความเป็นจริง

4) ยุคหลังสงครามโลก

ในยุโรป ลัทธิ "เชื่อผู้นำ" ของฟาสซิสต์ และลัทธิ "คลั่งชาติ" ของนาซี ถูกถอดรื้อโดยสิ้นเชิงจนไม่มีใครนับถือ, ไม่มีวันจะผุดจะเกิดอีก แต่ในเมืองไทยไม่เป็นเช่นนั้น

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศนี้ถูกกระทำทารุณอย่างที่ไม่ค่อยมีใครพูดถึง นั่นคือ หลังสงครามไม่ช้าไม่นานเกิดสงครามเย็นขึ้นมา, ทำให้โลกตะวันตกต้องการ "ไทยแลนด์" (ไม่มี "สยาม" เสียแล้ว) เป็นสัมพันธมิตรที่เข้มแข็งฝ่ายขวาเพื่อต่อต้านกระแสคอมมิวนิสต์ในอุษาคเนย์

ดังนั้น "เสรีไทย" ถูกลบล้างจากความรับรู้ของประชาชน, ขบวนการเสรีนิยมถูกปราบปราม, ส.ส.ฝ่ายประชาธิปไตยถูกวิสามัญฆาตกรรม, และ "ท่านผู้นำ" ในสงครามโลก, คือนายแปลกและพรรคพวก, ก็กลับสู่อำนาจอย่างสง่าผ่าเผยพร้อมทั้งลัทธิเผด็จการ และลัทธิคลั่งชาติ

ส่วนหลักสูตรประวัติศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการที่สอนอยู่ในโรงเรียนทั่วประเทศจนทุกวันนี้ ก็ยังเป็นประวัติศาสตร์เชื้อชาติ ตามหลักของพรรคนาซีเยอรมันครั้งสงครามโลกครั้งที่ 2

5) ปัจจุบัน

ข้อคิดเหล่านี้ชวนให้สงสัยว่าเมืองไทยปัจจุบันยังเป็นโรคจิตเรื่องประวัติศาสตร์, เพราะไม่ยอมเผชิญหน้ากับความผิดพลาดทางปัญญาที่เกิดครั้งสงครามโลกครั้งที่ 2

อย่าลืมว่าจักรวรรดินิยมคลาสสิค (อังกฤษ-ฝรั่งเศส) พังทลายสิ้นดีเมื่อเกือบ 60 ปีมาแล้ว คนไทยยังจะระแวงอีกหรือ ? ผมว่าจักรวรรดินิยมแนวใหม่ของสหรัฐน่ากลัวกว่ากันอีกแยะ

แต่นั้นมาประวัติศาสตร์ไทยจึงกลายเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ที่ปิดเล่มเสียแล้ว ใครทักท้วงหรือสงสัยหรือคิดใหม่, ค้นใหม่, กลายเป็น "มิจฉาทิฐิ" ที่ต้องถูกเผาพริกเผาเกลือ, หรือต้องเป็น "อีแอบ" ทำงานใต้ดินเพราะรัฐไทยไม่เปิดเวทีให้

ความส่งท้าย


เป็นไปได้ไหมว่า รัฐบาลปัจจุบันที่มีคำขวัญว่า "คิดใหม่ทำใหม่" จะมีแก่ใจที่จะจี้ให้กระทรวงศึกษาธิการให้คิดใหม่บ้าง ?

อีโมหิณี แมวรักของผม, ฟังแล้วหัวเราะจนสำลัก "ไอ้ไมค์เอ๋ย", เธอว่า "ประวัติศาสตร์ไทยเป็นของรัฐมาแต่ไหนแต่ไร

ประชาชนไม่มีสิทธิ์จะเสือกรู้เห็น

Fundamentalism - ศาสนาวิบัติ ? (3)

ความนำ

ในสองบทความก่อนผมพยายามอธิบายถึง "ลัทธิถอยหลังเข้าคลอง" (Fundamentalism) ของชาวคริสต์บางกลุ่มในสหรัฐอเมริกา, ว่ามันอันตรายมากเพียงใดทั้งต่อคริสต์ศาสนาขนานแท้และต่อสันติสุขของโลกทั้งหมด

แต่ผมเขียนแคบไป ที่จริงทุกศาสนา, ไม่ว่าเป็นคริสต์, ยิว, มุสลิม, ฮินดู, พุทธ, หรือแม้กระทั่งขงจื๊อ, เต๋า และชินโต, ล้วนแต่อาจจะถูกดูดลงไปในกระแสน้ำวนที่เรียกว่า Fundamentalism หากมีปัจจัยปรุงแต่งพร้อม

ปัจจัยหลักๆ ของ Fundamentalism ไม่ได้อยู่ที่ศรัทธามั่นคง (Firm Faith), ความเชื่อมั่นในตนเอง (Self-Confidence) หรือความภาคภูมิใจ (Amour Propre), หากเกิดจากความคลอนแคลน(Uncertainty), ความรู้สึกว่าถูกไล่ให้อยู่สุดขอบ (Marginalisation) และ แปลกแยก (Alienation)

ศาสนาวิบัตินี้ยังมีความคล้ายคลึง (และอาจจะผูกโยง) กับความคลั่งชาติ คนที่รักชาติอย่างปกติย่อมมีความมั่นใจว่า "ชาติ" นั้นมั่นคงดีงามอยู่ จึงไม่จำเป็นต้องเต้นเป็นแร้งเป็นกาอวดอ้างความวิเศษของชาติหรือชวนกันดูถูกโกรธแค้นชาติอื่น

มีแต่คนตกใจกลัว ขาดความมั่นใจเท่านั้นที่จะรณรงค์ให้ใครๆ "รักชาติ" กัน และชวนให้มองคนภายนอกว่าเป็น "ปีศาจ"

ใครสนใจเรื่องนี้จริงๆ น่าจะอ่านหนังสือ The Battle for God (สงครามแย่งชิงพระผู้เป็นเจ้า) ของ Karen Armstrong, Random House, N.Y., 2000

ในหนังสือเล่มนี้ Armstrong ได้อธิบายประวัติความเป็นมาของลัทธิ "ถอยหลังเข้าคลอง" ในศาสนายิว, มุสลิมและคริสต์อย่างละเอียดถี่ถ้วนเกินที่คนไทยคงอยากรู้, แต่หลักการใหญ่ๆ ของท่านมีประเด็นน่าสนใจดังนี้ :-

ว่าโดยทั่วไปแล้ว Fundamentalism ที่เรากำลังประสบทุกวันนี้เป็นของใหม่จริง เพราะเป็นการโต้ตอบกับกระแสสมัยใหม่ (Renaissance, Enlightenment, การปฏิวัติอุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ยุคปัจจุบัน) ตลอดหลายพันปีมา ศาสนา, ประเพณี และสังคมคืออันเดียวกัน แม้จะมีการปฏิรูป/ปฏิวัติเป็นครั้งคราว, แต่โดยทั่วไปศาสนาเป็นหลักความคิดความประพฤติสำหรับทุกคนในสังคมที่ไม่ต้องสงสัยและไม่มีใครทักท้วง

แต่ใน 400 ปีที่ผ่านมา ศาสนาค่อยๆ ถอยจากความเป็นเสาเอกของสังคมไปอยู่ชายขอบ บางคนยังยึดมั่นในศาสนาอย่างจริงจัง, แต่สังคมโดยทั่วไปห่างเหินศาสนายิ่งนับวันยิ่งมาก เจ้านายอาจจะอ้างอิงศาสนาเพื่อรองรับสิทธิอำนาจของตน ชนชั้นกลางยังไปวัดไปวาเพื่อแสดงฐานะ "ผู้ดี" ของตน, และคนกรรมาชีพหลายคนยึดศาสนาเป็นยาบำบัดความทุกข์ยาก

แต่ในปัจจุบัน ชาวโลกจำนวนมหาศาล (ทั้งในตะวันตกและตะวันออก) เห็นศาสนาว่าหมดน้ำยา ไม่มี "คำตอบ" ที่น่าพึงใจ หลายคนจึงละจากศาสนาโดยไม่รู้ตัว, คิดแต่จะหาผลประโยชน์และความสำราญ ส่วนคนที่มีความสำนึกนอกโลกีย์, ก็แสวงหา "คำตอบ" นอกศาสนา เช่น ในสังคมศาสตร์, เศรษฐศาสตร์, รัฐศาสตร์, จิตวิทยา และสุนทรียศาสตร์ (Aesthics) เป็นต้น

กระบวนการนี้ทั้งหมดเรียกว่า Secularism ที่ยังไม่มีศัพท์ไทยบัญญัติ แต่ผมขอเสนอคำ "อศาสนาวิถี" ซึ่งเป็นกลาง, คือไม่สนับสนุนและไม่ต่อต้านศาสนา (ขออธิบายเพิ่มเติมเมื่อพูดถึงตะวันตกโดยเฉพาะข้างหน้า)

สรุปเบื้องต้น


Secularism ก่อให้เกิดกระบวนการโต้ตอบในรูป Fundamentalisms ต่างๆ นานาอย่างสับสน, ซับซ้อนและกำกวมอย่างยิ่ง อย่างเช่นบางกระบวนการมีความซื่อสัตย์สุจริตอยากรื้อฟื้นคำสอนและวิถีชีวิตของพระศาสดาอย่างแท้จริงบริสุทธิ์ใจ แต่บางกระบวนการมีความประสงค์แอบแฝง เช่น อยากใช้ศาสนาแย่งชิงสิทธิ์อำนาจกันเองบ้าง, รักษาผลประโยชน์ส่วนตัวบ้าง, หรือแผลงฤทธิ์ให้ปราบปรามฝ่าย "อธรรม" ซึ่งอาจจะหมายถึงใครก็ได้ที่ไม่ถูกคอกัน

Armstrong ให้ตัวอย่างความซับซ้อนและสับสนดังนี้ :-

กรณีย์ชาวยิว หลังสงครามโลกครั้งที่ 2, รัฐอิสราเอลถูกตั้งขึ้นมาเป็นบ้านเมืองของชาวยิว, เป็นรัฐศาสนา (Secular State) โดยมองข้ามประวัติศาสตร์ความขัดแย้งทางเชื้อชาติ, เศรษฐกิจและศาสนาที่มีมาเป็นพันๆ ปีในแดนนั้น ที่จริงมหาอำนาจตะวันตกไม่ได้ก่อตั้งรัฐอิสราเอลเพราะสงสารชาวยิว, แต่เพราะเขาต้องการฐานทัพถาวรข่มขู่บรรดารัฐมุสลิมในตะวันออกกลางที่เป็นเจ้าของแหล่งน้ำมัน

ดังนั้น ชาวยิวเกิดมี Fundamentalism สองกระแสที่ตรงกันข้ามกัน :-

กระแสหนึ่ง ว่า "เราคือชาติที่ถูกเลือกสรร (Chosen People) และนี่คือแผ่นดินที่พระเป็นเจ้าสัญญาว่าจะมอบให้ (Promised Land) ชาวยิวถูกเนรเทศและรังแกมา 2,000 ปี, บัดนี้ถึงตาชาวยิวจะรังแกเขามั่ง" นี่คือต้นตอสงครามกลางเมืองระหว่างชาวยิวกับชาวปาเลสไตน์ที่ไม่รู้จักจบสิ้น

อีกกระแสหนึ่ง ว่า "รัฐอิสราเอลปัจจุบันเป็นเมืองบาป เมืองปลอม เพราะมนุษย์สถาปนาด้วยความรุนแรง ตามพระคัมภีร์มีแต่พระผู้เป็นเจ้าเท่านั้นจะส่งพระมหาไถ่ (Messiah) มารื้อฟื้นอิสราเอล (แท้) ด้วยเมตตาปรานีและความยุติธรรม"

ยิว Fundamentalist กระแสนี้ {(Neturey Karta) pic.post, Jan.10} เรียกร้องสิทธิมนุษยชนของชาวปาเลสไตน์และประท้วงการกระทำของสหรัฐและรัฐบาลอิสราเอลตลอดเวลาทั่วโลก, แต่เราไม่ค่อยได้ยินได้เห็นเพราะไม่ต้องใจประเทศมหาอำนาจ

กรณีชาวมุสลิม ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 มหาอำนาจตะวันตก ตระหนักว่า "น้ำมันดิบ" เป็นเชื้อเพลิงที่มีประสิทธิภาพเหนือไม้และถ่านหินที่เคยใช้มาก่อน, จึงเริ่มใคร่จะควบคุมแหล่งน้ำมันในตะวันออกกลาง

ในสงครามโลกครั้งที่ 1 จักรวรรดิออตโตมัน (ที่ครองตะวันออกกลางส่วนใหญ่) เข้าข้างเยอรมัน พอชนะสงครามอังกฤษและฝรั่งเศสก็เข้าไปกินซากและแบ่งเขตอำนาจกัน บางแห่งเข้าไปยึดครองโดยตรง, บางแห่งเชิดหุ่นเจ้านายพื้นเมืองบังหน้า

ดังนี้ ชาวมุสลิมตะวันออกกลางเกิดความผิดหวังและคับแค้นหลายชั้นซับซ้อนและสับสนกัน, เช่น

- โลกมุสลิมเคยนำโลกทางศิลปวิทยาและการค้า, แต่ถูกตะวันตกแซงหน้าจนตนล้าหลัง

- ถูกตะวันตกรังแกและปล้นสะดมโดยตรง

- ถูกผู้นำพื้นเมืองขายตัวช่วยรังแกและปล้นสะดม

ดังนี้ ชาวมุสลิมจึงมีปฏิกิริยาเกิด Fundamentalism อย่างน้อยสองกระแส :-

กระแสหนึ่ง ว่า "เราต้องรื้อฟื้นชีวิตอันดีงามที่สอนในอัล"กุหร่าน, พร้อมทั้งเรียนรู้ศิลปวิทยาตะวันตกโดยไม่รังเกียจ" ตัวอย่างกระแสนี้คือ ท่าน Abdurrahman Wahid, อดีตประธานาธิบดีอินโดนีเซีย, ที่ประพฤติสำรวมตามหลักอิสลามอย่างเคร่งครัดแต่ไม่บังคับใครให้เคร่งตาม, เป็นปัญญาชนใจกว้างและมีเมตตาต่อคนทุกฝ่าย Fundamentalism มุสลิมกระแสนี้มีแพร่หลายมาก, แต่ดูเหมือนจะโด่งดังและมีประสิทธิผลน้อยกว่า

กระแสที่สอง คือ Fundamentalism มุสลิมชนิดที่นิยมความรุนแรงและเกิดจากความแค้นหลายประการดังกล่าวมาแล้ว ที่กระแสนี้อ้างคำสอนและความประพฤติในพระคัมภีร์นักหนา, จะผิดหรือถูกอย่างไรผมวิจารณ์ไม่เป็นเพราะไม่มีความรู้

ที่กระแสนี้เห็นโลกเป็นขาว-ดำ ผมไม่เห็นด้วย, แต่ที่เคียดแค้นต่างๆ นั้น ผมวิจารณ์ไม่ได้อีกเพราะเห็นว่าฝ่ายรุนแรงมีเรื่องที่สมควรจะเคืองอย่างยิ่ง

กรณีชาวคริสต์ เรื่องนี้ผมเขียนมามากแล้ว ว่าโดยสรุปชาวคริสต์ มี Fundamentalism สองกระแสเช่นกัน :-

กระแสหนึ่ง มุ่งรื้อฟื้นความดีงามของพระศาสดาในพระวรสาร (Gospels) โดยเน้นเมตตาธรรมและการถ่อมตัวรับใช้เพื่อนมนุษย์, มีทั้งในนิกายโปรเตสแตนต์และคาทอลิก โดยมากเรียกกระบวนการนี้ว่า Evangelical

อีกกระแสหนึ่ง อ้างพระคัมภีร์สนับสนุนความรุนแรงและความแตกแยกในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งสงคราม, มองโลกว่า ขาว-ดำ (เราดี-เขาชั่ว) ทั้งภายในประเทศและในระดับระหว่างประเทศ Fundamentalism กระแสร้ายนี้ชั่วเป็นพิเศษ เพราะไม่มีชื่อเฉพาะออกหน้า, แต่แอบแฝงกับ Fundamentalist กระแสดีๆ จนจับเป็นตัวเป็นตนได้ยาก

มันกลายเป็นอุดมการณ์ของทำเนียบขาวสนับสนุนการรุกรานทำสงครามตามใจชอบ, จึงอาจจะพาคริสต์ศาสนาทั้งหมดให้หมองไปด้วย

ความสรุป

ทุกศาสนา ทั้งยิว, มุสลิม และคริสต์ ต่างมี Fundamentalism ที่น่าเคารพ, คือการรื้อฟื้นความดีงามของศาสดาดังปรากฏในพระคัมภีร์ แต่พอ Fundamentalism นั้นๆ ถูกลักพาโดยคนคลั่งชาติ, คลั่งผลประโยชน์ และคลั่งอื่นๆ ก็กลายเป็นเครื่องมือของปีศาจแท้ๆ และดูเหมือนจะพาโลกให้ฉิบหายจนได้

ปัญหาของโลกปัจจุบันคือ Fundamentalism ดีๆ มีเสียงน้อยและดูเหมือนไม่มีประสิทธิผล, ในขณะที่ Fundamentalism ร้ายๆ กำลังดังสนั่นและเป็นตัวกำหนดอนาคตของโลก

คนหวังดีต่อโลกย่อมไม่นิยมความรุนแรง, แต่นายบุช, แบลร์, ชารอน และ บิน ลาเดน, น่าจะยิ้มกัน, ตบมือกัน, กะพริบตากันและปรารภพร้อมๆ กันว่า "ความรุนแรงช่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผลจริงๆ ! พวกเรียกร้องความยุติธรรม, เมตตาธรรมและสันติภาพ ต่างล้วนเป็นเด็กอมมือที่ไม่รู้เรื่องโลกแห่งความเป็นจริง"

แล้วพวกเราที่หวังดีต่อโลกจะโต้ตอบกับมันอย่างไรดี ?

ท่านผู้อ่านช่วยกันคิด


Fundamentalism - ศาสนาวิบัติ ? (2)


ความนำ

เช่นเดียวกับศาสนาอื่น คริสต์ศาสนาในโลกนี้มาในหลายรูปแบบทั้งสฤษฏ์ (Creative) สถิต (Status Quo) และ ประลัย (Destructive) ทั้งยังมียุคประเสริฐ ยุคเสื่อม และยุคปฏิรูป หมุนเวียนไม่ขาด

ตัวอย่าง "สฤษฏ์" นั้นมีมากมาย เช่น เมื่อชาวคริสต์ตั้งใจรับพระเยซูเป็นแบบอย่างในชีวิต สละเกียรติยศ และความสะดวกสบายเพื่อคบหาช่วยเหลือคนที่ตกยาก ถูกทอดทิ้งและเหยียดหยาม อย่างนี้มีตัวอย่างชาวคริสต์กระทำไม่ขาดมา 2,000 ปี (แต่ทั้งนี้ ต้องระวังไม่นับขบวนการ "บุญปลอม" ที่สังคมจัดขึ้นมาเพื่อเสริมบารมีชนชั้นสูงและหลอกคนยากไร้ให้จำนน)

แน่นอนทีเดียว พระเยซูไม่ได้เป็นมาร์กซิสต์ (เพราะมาร์กซ์ยังไม่เกิด แต่พระองค์ได้ดุว่าฝ่ายมีอำนาจวาสนาแล้วเข้าข้างและให้ศักดิ์ศรีกับบรรดาคนยากไร้ที่ถูกถีบตกระกำ

ตัวอย่าง "สถิต" คือศาสนจักรโรมันคาทอลิกในคริสต์ศตวรรษที่ 15-16 ที่เป็นมหาอำนาจคุมบ้านเมืองทั่วยุโรป แต่วิวัฒนามาห่างเจตนารมณ์ของพระวรสารไม่น้อยทั้งในด้านความประพฤติและคำสอน

ตัวอย่าง "ประลัย" มีหลายครั้งในประวัติศาสตร์ เมื่อนิกายกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดลุกขึ้นมาอ้างว่า "เราเท่านั้นบริสุทธิ์ ถูกต้อง, ใครอื่นผิดและเป็นฝ่ายซาตาน", แล้วแผลงฤทธิ์ประหัตประหารเผาผลาญกัน

อย่าว่าแต่สงครามครูเสด (คริสต์ศตวรรษที่ 11-13) ที่ศาสนจักร บุกรุกทำลายโลกมุสลิม Fundamentalism ในคริสต์ศาสนา มักพาสู่การเบียดเบียนระหว่างชาวคริสต์นิกายต่างๆ ด้วยกันอย่างแสนสาหัส

และเป็นเช่นนี้เป็นครั้งเป็นคราวตั้งแต่ชาวคริสต์ได้อำนาจรัฐใน คริสต์ศตวรรษที่ 4-5

Fundamentalism ขนานใหม่ ?

ในบทความนี้ผมสนใจ Fundamentalism ในคริสต์ศาสนาสมัยใหม่ที่กำลังกำเริบในสหรัฐ และทำเนียบขาวฉวยเป็นอุดมการณ์สนับสนุนการรณรงค์สงครามตามใจชอบ เพื่อปราบโลกให้ยอมแพ้จักรวรรดินิยมขนานใหม่ และสมยอมเป็นเหยื่อของระบบทุนนิยมที่ทารุณ ไร้ยางอาย ขาดศีลธรรม และสมบูรณ์เด็ดขาดสู้ไม่ได้ ยิ่งกว่าจักรวรรดิใดๆ ที่เคยมีในโลกมาก่อน

แล้วศาสนาคริสต์ (ปลอม) ที่บุชองค์ที่ 2 อวดอ้างนักหนานั้น ท่านหามาจากไหน ? ศาสนาคริสต์เทียมขนานนี้มีประวัติความเป็นมา

ประวัติ Fundamentalism ในสหรัฐ

ในคริสต์ศตวรรษที่ 15-16 พระศาสนจักรโรมันคาทอลิกเสื่อมดังว่ามาแล้ว ท่านมาร์ติน ลูเธอร์ (Martin Luther คริสต์ศักราช 1483-1546) จึงก่อการปฏิรูปโปรเตสแตนต์ (Protestant Reformation) ที่แสวงหาคำสอนเดิมของพระเยซู ประเด็นสำคัญคือ "บุญ" และ "สวรรค์" นั้นไม่ใช่ของที่เงินซื้อได้ แต่เกิดขึ้นจากเจตนารมณ์อันดีงาม

ใครจะขึ้นสวรรค์นั้นไม่ใช่เพราะอำนาจซื้อ แต่เพราะศรัทธาบริสุทธิ์สุจริต (Salvation by Faith)

ท่านจอห์น แคลวิน (John Calvin คริสต์ศักราช 1509-1564) เสริมว่า คนเราล้วนแต่บาปทั้งนั้น และ "บุญ" ที่เราทำมาไม่มีความหมาย ในเมื่อพระผู้เป็นเจ้าทรงสรรเพชุตาญาณ (รู้ทุกสิ่งล่วงหน้า) พระองค์ย่อมกำหนดล่วงหน้าตั้งแต่ปฐมกาลว่าใครจะตกนรกขึ้นสวรรค์ (Predestination) มนุษย์ช่วยตัวเองไม่ได้แต่ต้องหวังว่าพระผู้เป็นเจ้าคงทรงเมตตา

ในสมัยต่อมา เมื่อชาวโปรเตสแตนต์ได้อำนาจรัฐ ก็เข้ายุค "สถิต" และความเชื่อเปลี่ยนตาม นั่นคือ ในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ใครได้ดิบได้ดีแสดงว่า "พระทรงโปรด" และใครตกยาก แสดงว่า "พระทอดทิ้ง"

ชาวผิวขาวเป็นชาติที่ "พระ" เลือกสรรให้เป็นใหญ่ และชาวผิวดำเป็นชาติที่ "พระ" กำหนดให้เป็นทาส

ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ชาวโปรเตสแตนต์ในสหรัฐได้ปฏิรูปกันอีกครั้งหนึ่ง (The Second Great Awakening) โดยเน้น "ศรัทธา" ของ Luthe และมองข้าม "พรหมลิขิต" (Predestination) ของ Calvin แต่นั้นมาชาวโปรเตสแตนต์นิกายหลักๆ จึงสนับสนุนการปล่อยทาส ส่งเสริมการศึกษา การแพทย์ สวัสดิการและความยุติธรรมสำหรับทุกคนไม่เว้น ตามน้ำพระทัยพระเยซู

อย่างไรก็ตาม มีคนบางกลุ่มไม่ยอมรับการปฏิรูปครั้งที่สองนี้ แต่ย้อนหลังยึดมั่นว่าชาติผิวขาวเป็นชาติประเสริฐที่พระผู้เป็นเจ้าเลือกสรร ใครได้ดีได้ร้ายนั้นเป็นพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า ความคิดเสรีว่าด้วยวิทยาศาสตร์และสังคมล้วนเป็นฝีมือซาตาน ฯลฯ

นี่แหละคือ Fundamantalism ขนานใหม่ที่ห่างคำสอนและตัวอย่างพระเยซูเป็นการกลับตาลปัตร

ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง บรรดา Fundamantalists ไม่ค่อยมีความสำคัญ และสังคมส่วนใหญ่ (Mainstream Society) ไม่ค่อยสังเกต เว้นแต่จะเป็นผู้ก่อการร้ายตกขอบ (Lunatic Fringe) อย่างเช่นขบวนการ Ku Klux Klan ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อเบียดเบียนประชาชนผิวดำ

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เทคโนโลยีและสังคมได้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทศวรรษ 1960 ทำให้ชาวสหรัฐหลายๆ คนตกใจกลัวและหันไปหา "จุดยืน" ที่ยึดถือได้

จุดยืนที่สะดวกที่สุดคือ Fundamantalism ซึ่งมีสูตรสำเร็จรูปว่า "เธอเป็นคนดี มีความชอบธรรม ใครไม่เห็นด้วยเป็นฝ่ายชั่วที่ต้องปราบปราม" ทั้งนี้ โดยอ้างพระคัมภีร์คำต่อคำ ตัวต่อตัว (the Letter of the Law) แต่ไม่แสวงหาเจตนารมณ์ของคัมภีร์ (the Spirit of the law)

ในทศวรรษ คริสต์ศักราช 1970-80-90 Fundamantalism ได้รับการโฆษณาชวนเชื่อทางวิทยุโทรทัศน์ของสหรัฐจนมีคนหลงเชื่อเป็นจำนวนไม่น้อย

ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 นี้ ประธานาธิบดีบุช (องค์ที่ 2) กำลังฉวยลัทธิ Fundamantalism เพื่อสนับสนุนโครงการชั่วของท่านดังนี้ :-

1) เพื่อปิดบังโจรกรรมของบรรษัทพลังงาน, อาวุธ, ยุทโธปกรณ์, IT และสื่อสาร, ตลาดหลักทรัพย์ และตลาดแลกเปลี่ยนเงินตรา ที่ต่างกำลังปล้นเศรษฐกิจสหรัฐ และเศรษฐกิจโลก

2) เพื่อตราหน้าฝ่ายเสรีนิยม (และแม้กระทั่งนายทุนดีๆ ที่คัดค้านทำเนียบขาว) ว่า "เป็นพวกไม่มีศาสนา, ไม่มีศีลธรรม, บ่อนทำลายชาติ" และ

3) เพื่อสนับสนุนสงครามในอิรักที่ผิดกฎหมายสากล และสหรัฐอาจจะขยายถึงแผ่นดินอื่นโดยที่สหประชาชาติยับยั้งไม่ได้

สำหรับเรื่องนี้ให้ท่านผู้สนใจอ่าน Hegemony or Survival, America"s Quest for Global Dominance ของ Noam Chomsky (Penguin, 2004) และ Dudo, Where is My Country ? ของ Michael Moore (Penguin, 2004)

ความส่งท้าย

ปัญหาสุดท้ายคือ สื่อมวลชนมักใช้คำว่า Fundamantalist อย่างสับสน คือเหมาให้ครอบทั้ง 1.ชาวคริสต์ผู้บริสุทธิ์ที่ซื่อสัตย์ต่อเจตนารมณ์ของพระศาสดา และ 2.คนใจร้ายบางกลุ่มที่มุ่งอ้างคริสต์ศาสนาเพื่อปิดบังความประพฤติชั่ว, สนับสนุนความแตกแยกเกลียดชังและรณรงค์สงครามมหาประลัย

ใครจะสะสางเรื่องนี้ ? เสียงผมไม่มีประโยชน์เพราะผมเป็นคนนอกศาสนา

มีแต่พี่น้องชาวคริสต์เท่านั้นที่สามารถสะสางความสับสนนี้ และยับยั้งไม่ให้โลกถูกฉุดไปสุ่ควาพินาศ หากรักความเป็นจริง รักความเป็นธรรม หวังดีต่อเพื่อนมนุษย์ และเห็นแก่พระผู้เป็นเจ้า

Fundamentalism - ศาสนาวิบัติ ?

ความนำ


ศาสนาใหญ่ๆ โดยมากขึ้นต้นเป็นการปฏิวัติ, แต่ต่อมาเมื่อมีคนจำนวนมากนับถือก็เปลี่ยนโฉมกลายเป็น 1) เครื่องมือของรัฐในการควบคุมสังคมบ้าง, 2) บรรษัทที่ต้องทำกำไร, และ/หรือ 3) เครื่องมือชูศักดิ์ศรีของ "เรา" และกระทืบศักดิ์ศรีของ "เขา"

ทั้งนี้ ไม่เป็นความจริงเสมอไป ทุกศาสนายังมีความดีแต่อาจจะลื่นไปในทางวิบัติได้เสมอ ทุกเมื่อ มีบางคนเห็นศาสนาเป็นเครื่องมือวิเศษที่จะดึงมาเป็นเครื่องมือสนับสนุนความคิดร้ายหรือผลประโยชน์ของตน ในขณะเดียวกัน ศาสนิกชนที่มีความซื่อสัตย์สุจริต, มีความรู้และศรัทธาจริงๆ, มีหน้าที่พยายาม ดึง ศาสนา กลับ สู่คำสอนบริสุทธิ์ของพระศาสดา

ในบทความนี้ผมสนใจเฉพาะความวิบัติของศาสนาคริสต์ หรือ christian Fundamentalism ที่ทำเนียบขาวนำมาใช้เป็นอุดมการณ์ในการดำเนินสงครามในตะวันออกกลาง, ที่ประธานาธิบดี Bush (องค์ที่ 2) บังอาจเรียกว่า Crusade หรือ "สงครามมหากางเขน" แต่ก่อนจะถึงยุคปัจจุบัน ผมขอปูพื้นอดีตเสียก่อน :-

ประมาณ 3,500 ปีที่แล้ว (?) พระยาเวห์ใช้โมเสส, ศาสดาคนสำคัญของชาวยิว, นำชาวยิวออกจากความเป็นทาสในเมืองอียิปต์และตั้งเป็นชาติอิสระ ในสายตานักปกครองอียิปต์ โมเสสต้องเป็นนักปฏิวัติและผู้ก่อการร้ายแน่ๆ

ต่อมาราว 2,500 ปีที่แล้ว บรรดาศาสดาพยากรณ์ (Prophets) ประท้วงความอยุติธรรมในสังคมยิว, และท่านหนึ่ง (ผมจำชื่อไม่ได้) ถามด้วยสุรเสียงพระผู้เป็นเจ้าว่า "มึงจะให้กูพากลับไปเป็นทาสในอิยิปต์อีกหรือ ?" (ท่านผู้อ่านอย่าหวังว่า พระจะ "ตรัสสุภาพ" ในเอกสารยุคสำริด)

ราว 2,500 ปีที่แล้ว พระพุทธเจ้าทรงถอดรื้อพิธีบูชายัญและระบบรวรรณะของพราหมณ์, ซึ่งผมไม่แน่ใจว่าควรเรียกว่า "ปฏิวัติ" หรือ "ปฏิรูป" กันแน่ แต่พราหมณ์ส่วนใหญ่คงไม่ชื่นใจเท่าไร

ต่อมาพระพุทธศาสนาได้กลายเป็นเครื่องมือการปกครองในหลายรัฐทั่วทวีปเอเชียรวมทั้งสยาม

ผมไม่อาจกล่าวได้ว่าพุทธศาสนาในสยามจะยังดีอย่างไรหรือวิบัติอย่างไร ขอให้ท่านผู้อ่านศึกษาเอาเองจากงานประพันธ์ของ อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์

ราว 1,500 ปีที่แล้ว พระนาบีมุฮัมมัด เป็นนักปฏิวัติทางความคิดและสังคมของชาวอาหรับ, ท่านถึงได้รับการต่อต้านอย่างรุนแรง ขออภัยที่ผมไม่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์มุสลิมเลย, แต่เท่าที่ทราบภายในไม่กี่ชั่วคนเกิดความขัดแย้งทางการปกครองจนมุสลิมแยกเป็น "สุนนี" และ "เชียะ," เป็นแผลที่ประสารกันไม่ได้จนทุกวันนี้

ราว 2,000 ปีที่แล้ว พระเยซู (ที่ชาวมุสลิมนับถือในนาม "พระนาบีอิซา") เป็นนักปฏิวัติหรือเปล่า ? จากหลักฐานเท่าที่มีอยู่เราไม่อาจจะตัดสินได้ เราทราบได้เพียงว่า

1) ท่านสอนสันติภาพ, การกลับคืนดีระหว่างพระผู้เป็นเจ้าและมวลมนุษย์ และความเคารพรักระหว่างมนุษย์ด้วยกัน, และ 2) ท่านถูกรัฐบาลยิวจับฐาน "กวนเมือง" และถูกข้าหลวงโรมันสั่งประหารชีวิตฐาน "ขบถ"

ต่อมาอีกไม่กี่ร้อยปี ชาวคริสต์ได้อำนาจรัฐในกรุงโรมแล้วลงมือเบียดเบียนคนนอกศาสนา (Pagans) และปราบปรามชาวคริสต์ที่มีความคิดผิดแผกแตกต่าง (Heratics)

นี่คืออุดมการณ์ (ทั้งดีทั้งร้าย) ของตะวันตกตลอดจนทุกวันนี้

สรุปเบื้องต้น


ท่านผู้อ่านเริ่มเห็นไหมว่า ปัญหาอยู่ตรงไหน ? ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ตัวศาสนาว่า ไหนถูก ? ไหนผิด ? ไหนดี ? ไหนชั่ว ? ปัญหาอยู่ที่ว่า ศาสนานั้นๆ ถูกใช้ในทางสฤษฎ์ (Creative) สถิต (Status Quo) หรือประลัย (Destructive) ?

ผมคิดว่า เราเห็นภาพศาสนาสามภาคนี้ได้ชัดที่สุดในโลกมุสลิม, คือ :-

1) สฤษฎ์ :- อิสลามขนานแท้สร้างสังคมเสรี แต่มีหลักการ, มีความยุติธรรมเสมอภาค, ประกอบด้วยคนมีปัญญา, เมตตา, ซื่อสัตย์, ร่าเริง ดังเช่นชาวมุสลิมทุกคนที่ผมรู้จักด้วยความเคารพรักซึ่งกันและกัน

2) สถิต :- ศาสนามุสลิมที่ตกเป็นอุดมการณ์ของรัฐ (เช่นในซาอุดีอาระเบีย ?) กลายเป็นเครื่องมือรักษาสถานการณ์ (Status Quo) ที่ผิดหลักธรรม, ประชาชนจึงเดือดร้อนและเกิดความเคียดแค้น

3) ประลัย :- ชาวมุสลิมที่ถูกเหยียดหยามและถูกทำลายอย่างแสนสาหัส (เช่น ชาวปาเลสไตน์, ชาวอิรัก, ชาวอัฟกานิสถาน และชาวตากใบ) ต่างยอมยึดศาสนาเป็นธงชัยนำสู้ เขามีเรื่องที่สมควรจะโกรธ, จึงไม่แปลกที่ท่าน "ก่อการร้าย"

(ที่ผมตีความโลกมุสลิมอย่างผิวเผินนี้, ผมขออภัย ผมติดตามเรื่องนี้เพียงตื้นๆ จึงน้อมรับฟังเสียงอาจารย์ฝ่ายมุสลิมที่ให้รายละเอียดได้ดีกว่าผม อย่างไรก็ตาม ศาสนาทุกศาสนามีภาค "สฤษฎ์," "สถิต" และ "ประลัย" พอๆ กัน, ไม่ใช่ศาสนามุสลิมอย่างเดียว)

ปัญหาอีกชั้นหนึ่งของเราคือ คำว่า Fundamentalism ซึ่งแปลตามรากศัพท์ว่า "ความเป็นพื้นฐาน" หรือ "การยึดหลักเดิม" อย่างไรก็ตาม ชาว Fundamentalist ถือว่าคำนี้หมายถึง "ความถูกต้องที่เถียงไม่ได้," ในขณะที่คนไม่ใช่ Fundamentalist ถือว่าหมายถึง "ความเชื่อล้าสมัยที่ไร้เหตุผล"


ในเมื่อเราตกลงกันไม่ได้เรื่องความหมายของศัพท์, เราก็ย่อมพูดกันรู้เรื่องได้ยาก ยิ่งกว่านั้นเมื่อ Fundamentalist เผชิญหน้ากับ Fundamentalist (ไม่ว่าจะเป็นคริสต์, มุสลิม, ยิว, ฮินดู หรืออื่นๆ) ด้วยความโกรธแค้น, ก็ย่อมไม่เกิดการสนทนาธรรม, แต่จะยิงจรวดทิ้งระเบิดกันมากกว่า

ผมไม่มีสิทธิ์สามารถชี้แนะเรื่อง Fundamentalism ในศาสนาอิสลาม Bush, Blair และ Thaksin ต่างขาดสิทธิ์ความสามารถเช่นกัน

มีแต่ชาวมุสลิมผู้หวังดีเท่านั้นที่อาจจะถางทางจากความมืดและสับสนสู่ความเข้าใจดีงามและสันติภาพ

ความส่งท้าย

ในบทความนี้ผมขอจับเรื่อง Fundamentalism ในคริสต์ศาสนา (Christian Fundamentalism), โดยเฉพาะอย่างยิ่งขนานใหม่ที่เป็นที่นิยมกันในสหรัฐอเมริกาและทำเนียบขาวฉวยใช้สนับสนุนนโยบายชั่วร้ายของตน

การอ้างศาสนา (ไม่ว่าเป็นมุสลิม, คริสต์หรือยิว) เพื่อสนับสนุนการก่อการร้าย (Terrorism) หรือสงครามบุกรุก (Agressive War) ซึ่งเป็นการก่อการร้ายระดับรัฐ, เป็นบาปที่ชั่วร้ายที่สุดเพราะ :-

1) เป็นการทำย่ำยีพระศาสนาให้เสียหลัก

2) เป็นการทำลายฐานความหวังสันติสุขของมนุษยชาติ, และ

3) เป็นการย่ำยีพระเมตตาและท้าทายพระพิโรธของพระผู้เป็นเจ้า

ศาสนาวิบัติเช่นนี้, มีแต่ชาวคริสต์ผู้หวังดีเท่านั้นอาจจะสะสางได้, และยับยั้งไม่ให้มนุษยชาติเดินหลงสู่อนาคตอันวิบัติตามที่คัมภีร์พระวิวรณ์ตักเตือนไว้

เรื่องนี้ขอเขียนต่อในฉบับหน้า

Monday, May 09, 2005

บทสรุปจากบทความทั้ง 5

ทั้ง 5 อันนี้ เป็น บทความของ อ นิธี เอียวศรีวงศ์ ซึ่งเขียนบทความลงใน มติชนสุดสัปดาห์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของบทความ ที่คิดว่าดี และมีความน่าสนใจในตัวเองสูง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของหัวข้อ ที่นำมาวิเคราะห์ และเรื่องของมุมมองและบทวิเคราะห์ที่ออกมา โดย ส่วนหนึ่งนั้น ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า การศึกษาประวัติศาสตร์ที่แท้จริงควรเป็นอย่างไร ควรมีการตั้งคำถาม หาข้อมูล และข้อสรุป แบบไหนอย่างไร ซึ่งต้องยอมรับว่า ระบบการศึกษาของไทย ยังทำไม่ได้ขนาดนี้ อาจเป็นเพราะ ไม่มีนักวิชาการที่เป็นนักวิชาการที่แท้จริง (ซึ่งก็ขึ้นกับมุมมองอีกว่า นักวิชาการที่แท้จริงเป็นอย่างไร) หรือเป็นเพราะ ลักษณะการเรียนรู้ของสังคม (ลักษณะของคนมีสิทธิมีเสียง พูดแล้วดัง มีคนในสังคมฟัง) ส่วนอีกด้านนึงที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความเห็นนั้น สามารถนำมาคิดวิเคราะห์ต่อไปได้อีก ในหลายๆเรื่อง รวมถึง ยุคหลังสมัยใหม่อีกด้วย แค่คิดง่ายๆว่า ในเมื่อความรู้กับความเห็นนั้น ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ แล้วเราจะสามารถยึดความเห็นที่สร้างความรู้ของใครดี ความเห็นของใครจะถูกต้องใกล้เคียงกับความจริง ที่ซึ่งไม่แน่ใจด้วยซ้ำว่า ความจริงมีอยู่จริงๆหรือไม่ หรือมีอยู่ในรูปแบบไหน

ดุสิตธานี

(ถ้าจำไม่ผิด) เมื่อตอนที่ผมสอบเข้าจุฬาฯ และสอบออกจากจุฬาฯ ผมเจอข้อสอบประวัติศาสตร์ไทยเดียวกันอยู่ข้อหนึ่ง

นั่นก็คือพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรีมีส่วนอย่างไรในการวางรากฐานประชาธิปไตยให้แก่ประเทศไทย

ผมคิดว่าผมทำได้ดีทั้งตอนขาเข้าและขาออก เพราะผมชอบอ่านประวัติศาสตร์ จึงได้เห็นแนวคิดอย่างนี้แพร่หลายในหนังสือประวัติศาสตร์มานานแล้ว ทั้งความคิดนี้ยังถูกตอกย้ำระหว่างเรียนมหาวิทยาลัย ฉะนั้น จึงน่าจะยิ่งทำได้ดีขึ้นไปอีกตอนขาออก

ไม่ใช่เพียงเพราะผมคุ้นเคยกับแนวคิดอย่างนี้เท่านั้นที่ทำให้ผมทำข้อสอบได้ดี แต่เพราะอีตอนนั้นผมก็เชื่ออย่างนี้จริงๆ เสียด้วย จึงสามารถเขียนคำตอบได้อย่างเมามัน

แม้เดี๋ยวนี้ผมไม่ได้เชื่ออย่างนี้อีกแล้ว แต่ในช่วงหนึ่งของชีวิตได้เคยผ่านกระแสเชี่ยวกรากของแนวคิดอย่างนี้มาในอดีต จึงทำให้เข้าใจนักการเมืองในปัจจุบัน ที่สถาปนาพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ไว้ที่หน้ารัฐสภา และพากันไปถวายสักการะในวันที่ 24 มิถุนายน ทุกปี โดยแทบจะไม่มีใครนำพวงมาลาไปวางที่อนุสาวรีย์ ท่านปรีดี พนมยงค์ ที่ธรรมศาสตร์เลย

ก็นักการเมืองไม่ได้มีอาชีพทางประวัติศาสตร์เหมือนผม เขาจึงไม่จำเป็นต้องศึกษาประวัติศาสตร์มากไปกว่าที่ได้เคยเรียนมา อีกทั้งการเชื่อมต่อระหว่างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์กับระบอบที่มาหลังจากนั้น ยังทำให้วิถีการเมืองของแต่ละคนราบรื่นดี และในความเป็นจริงก็มีอะไรที่เชื่อมต่อกันมากระหว่างสองระบอบนี้จริงๆ เสียด้วย

เพียงแต่ไม่อาจเรียกสิ่งนั้นว่าประชาธิปไตยได้เท่านั้น

หนึ่งในสิ่งที่เป็น "ประจักษ์พยาน" ขอบการวางรากฐานประชาธิปไตยในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ก็คือดุสิตธานี (ที่ไม่เกี่ยวกับโรงแรม) ผมอยากพูดถึงดุสิตธานีเพราะมันสะท้อนอะไรที่ผมกล่าวข้างต้นนั้นได้ชัดเจนดีที่สุด

ยิ่งกว่านี้ดุสิตธานียังเป็นกรณีของการ "ลากเข้าความ" ที่หน้าตาเฉยที่สุด ของบรรดาประจักษ์พยานทั้งหลายซึ่งใช้สนับสนุนแนวคิดดังกล่าว

ในสมัยที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ทรงสร้างดุสิตธานี ไม่มีใครพูดหรือคิดว่าดุสิตธานีเป็นบทเรียนประชาธิปไตย ตรงกันข้าม ส่วนใหญ่ของข้าราชการสำนักคิดว่า "ในหลวง" ท่านโปรดเล่นเมืองตุ๊กตา

แม้จะเรียกว่า "เล่น" แต่ดูจะวิจิตรพิสดารกว่าการเล่นของคนทั่วไป นับตั้งแต่ "เมืองตุ๊กตา" นั้น ไม่ได้ทำอย่างหยาบๆ แต่ย่อส่วนตึกรามบ้านช่องและถนนหนทางอย่างประณีต ยิ่งกว่านั้นยังเปิดรับสมัครราษฎรของเมืองในหมู่ข้าราชบริพาร พร้อมทั้งจัดการปกครองอย่างเทศบาลนครของยุโรป ซึ่งทำให้มีการเลือกตั้งคนที่จะเข้าไปทำหน้าที่ "นคราภิบาล"

รวมทั้งมีการประชุมของผู้แทนเพื่อออกกฎระเบียบสำหรับใช้ในเมืองตุ๊กตานี้ด้วย

ไม่ว่าเมืองนี้จะชื่ออะไร และจำลองนครยุโรปมาได้ใกล้เคียงอย่างไรก็ตาม แต่มันเป็นเมืองตุ๊กตาอย่างปฏิเสธไม่ได้ เพราะมันไม่ "จริง"

ไม่ใช่ไม่ "จริง" เพราะเข้าไปอาศัยหลับนอนในนั้นไม่ได้ หรือเข้าไปทำมาหากินเลี้ยงชีพในนั้นไม่ได้เท่านั้น แต่ไม่ "จริง" ที่ความสัมพันธ์เชิงอำนาจในเมืองนั้นไม่ได้ตัดขาดออกไปจากความสัมพันธ์เชิงอำนาจในสังคมไทยภายนอกดุสิตธานี

แน่นอนว่า ไม่มีใครลืมหรอกว่าเอดิเตอร์ของดุสิตสมิตนั้นไม่ใช่ราษฎรสามัญ แต่คือพระเจ้าอยู่หัวในสังคมข้างนอกซึ่งชีวิตจริงของทุกคนยืนอยู่ตรงนั้น

ไม่มีใครลืมว่านคราภิบาลคือเจ้าพระยายมราช รวมทั้งไม่ได้ลืมความสัมพันธ์ที่เป็นจริงระหว่างเจ้าพระยายมราชกับพระเจ้าอยู่หัวในสังคมนอกดุสิตธานี

ทุกคนในดุสิตธานีล้วนสำนึกได้ดีว่าของจริงของแต่ละคนคืออะไร และด้วยเหตุดังนั้นความสัมพันธ์ในดุสิตธานีจึงเป็นแค่ของหลอก

ฉะนั้น ราษฎรของดุสิตธานีทุกคนจึงรู้ดีว่า "ฟรี เปรส" (Free Press) ของดุสิตธานีนั้นใครฟรี และแต่ละคนพึงฟรีได้แค่ไหน


เช่นเดียวกับการอภิปรายในสภานคราภิบาล ความเห็นของราษฎรในเรื่องภาษี หรือประสิทธิภาพของการทำงานของคณะผู้ปกครอง ฯลฯ ทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำให้ "การปกครองตนเอง" เป็นไปได้มากกว่า "ตุ๊กตา" ย่อมมีไม่ได้ในดุสิตธานี

อันที่จริง อาจไม่จำเป็นจะต้องพูดอะไรกันให้มากความเกี่ยวกับความไม่ลงรอยกันของเมืองตุ๊กตากับประชาธิปไตย ถ้าเราสำนึกว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ซึ่งทรงสร้างดุสิตธานีขึ้นนี้ ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทความที่พยายามชี้ให้เห็นอย่างตรงๆ เลยว่า เมืองไทยนั้นไม่อาจใช้ระบบรัฐสภาได้

นอกจากเจ้าจะใช้เงินเข้าสู่สภาแล้ว ในสภานั้นเองก็จะตีกันวุ่นหรืออภิปรายเลอะเทอะจนไม่ได้สาระอะไร เก็บการบริหารรัฐกิจไว้กับ "มืออาชีพ" ดีกว่า

ถ้าจะมีพระราชประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใดกับเมืองตุ๊กตานี้มากกว่าเรื่องทรงพระสำราญ ก็เป็นการฝึกการบริหาร หรือความพยายามที่จะปฏิรูประบบราชการของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ นั่นคือการฝึกให้ข้าราชการ โดยเฉพาะที่เป็นข้าราชบริพารใกล้ชิด สามารถประสานงานกันเพื่อภารกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง

ความร่วมมือกันเพื่อการประสานงาน (Coordination) เป็นจุดอ่อนของระบบราชการสมัยใหม่ไทยนับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ได้ทรงสถาปนาขึ้นมาแต่แรกแล้ว

ความแตกร้าวชิงดีชิงเด่นกันอย่างหนักในหมู่เสนาบดีซึ่งมีหลักฐานอ้างถึงไว้หลายแห่ง เป็นเพียงปลายยอดของปัญหาเท่านั้น

เพราะที่จริงแล้ว แม้ในหมู่ข้าราชการระดับล่างลงมา ก็พากันยึด "สังกัด" มูลนายของตนอย่างเหนียวแน่น และมุ่งจะขยายอำนาจและผลประโยชน์ของกรมหรือกระทรวงที่ตนสังกัดมากกว่ามุ่งไปที่ภารกิจอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นพระบรมราโชบาย

ในปลายรัชกาลที่ 5 ถึงขนาดที่ข้าราชการในกระทรวงยุติธรรมร่วมกับเสนาบดีลาออกประท้วงพระเจ้าอยู่หัวกันเลย

ผมไม่แน่ใจว่า ดุสิตธานีต้องการฝึกการบริหารแบบใหม่อย่างนี้จริงหรือไม่ เพียงแต่ว่าถ้าจะพยายามมองหาจุดประสงค์อื่นให้ได้แล้ว อย่างมากที่สุดก็เป็นได้แค่การปฏิรูประบบราชการเท่านั้น

และการปฏิรูประบบราชการไม่ได้เกี่ยวอะไรทั้งสิ้นกับการวางรากฐานประชาธิปไตย คนที่อยู่ภายใต้ผู้ว่าซีอีโอในปัจจุบันก็คงเข้าใจดี

แนวคิดเรื่องดุสิตธานีคือการสอนประชาธิปไตยแก่คนไทยนั้น เพิ่งมาโฆษณากันหลัง 24 มิถุนายน 2475 เมื่อระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สิ้นสุดลงแล้ว ซึ่งสอดคล้องกับยุทธวิธีของฝ่ายสถาบันพระมหากษัตริย์ในการตอบโต้กับการเถลิงอำนาจของคณะราษฎร (และคณะอะไรอื่นๆ ซึ่งตามมา)

นั่นก็คือการเสนอให้สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นฝ่ายสนับสนุนและปกป้องประชาธิปไตย ยิ่งกว่ากลุ่มอะไรอื่นๆ ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นคณะราษฎร, คณะรัฐประหาร, คณะทหาร, หรือ คณะปฏิวัติ ฯลฯ ซึ่งผลัดกันเข้ามาถืออำนาจทางการเมืองของไทย

พระราชหัตถเลขาทรงสละราชสมบัติของ ร.7 ที่ทรงประกาศว่ายินดีจะสละพระราชอำนาจให้แก่ปวงชนชาวไทย ไม่ใช่ให้แก่คณะบุคคลใดบุคคลหนึ่งมาเอาไปถือเป็นส่วนตัว ทำให้คณะราษฎรกลายเป็นฝ่ายตรงข้ามกับประชาธิปไตย ในขณะที่สถาบันพระมหากษัตริย์กลับเป็นฝ่ายประชาธิปไตยไป

จากนั้นเป็นต้นมา ระบบการเมืองไทยก็กลายเป็นเผด็จการในรูปต่างๆ ตลอดมาเป็นส่วนใหญ่ จึงยิ่งทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์กลายเป็นสัญลักษณ์ของประชาธิปไตยที่ "แรง" ไม่น้อยไปกว่าพานรัฐธรรมนูญ

คนที่จะเข้ามาเป็นราษฎรของดุสิตธานีได้นั้น ไม่ใช่คนไทยธรรมดา นอกจากข้าราชบริพารแล้วก็มีคหบดีบางคนที่ได้เข้าไปอยู่ด้วย แต่ดุสิตธานีไม่มีสามัญชนคนธรรมดา

ใน ร.6 สามัญชนคนธรรมดาไม่ใช่คนที่ไร้หน้าตาเสียทีเดียว ถ้าเรากลับไปดูฎีการาษฎรที่ถวายความเห็นหรือร้องเรียนแก่ราชสำนัก หรือกลับไปอ่านหนังสือพิมพ์ของสมัยนั้น จะเห็นได้ว่าสามัญชนคนธรรมดานั้นมีความเคลื่อนไหวในสังคมการเมืองของไทยอย่างปฏิเสธไม่ได้

แต่คนเหล่านี้ไม่มีที่ของตนในดุสิตธานีเพราะดุสิตธานีไม่ใช่แบบจำลองของสังคมไทย ถ้าจะมีเวทีของการต่อรองเกิดขึ้นในดุสิตธานี เวทีนั้นก็เป็นเพียงเวทีของคนใหญ่คนโตผู้มีอำนาจในระดับต่างๆ เท่านั้น

อันที่จริงการเกี้ยเซี้ยกันระหว่างคนมีอำนาจนั้นเป็นปรกติธรรมดาของโครงสร้างอำนาจทั้งหลาย เพื่อไม่ให้เกิดความตึงเครียดในโครงสร้างนั้นจนตั้งอยู่ต่อไปไม่ได้

ประชาธิปไตยไทยหลัง 2475 สืบมาจนถึงทุกวันนี้ก็คือเวทีเกี้ยเซี้ยระหว่างใครก็ตามที่ทะลุขึ้นมาอยู่ในวงของอำนาจได้ ไม่ได้รวมประชาชนส่วนใหญ่เอาไว้


ฉะนั้น จึงน่าจะเรียกว่าประชาธิปไตยไทยว่าประชาธิปไตยแบบดุสิตธานี

พูดอย่างนี้แล้ว ผมกลับต้องเปลี่ยนความคิดไป เพราะจริงนั่นแหละดุสิตธานีวางรากฐานประชาธิปไตยนี่หว่า


คนไทยขี้อิจฉา


ครูฝรั่งของผมคนหนึ่งซึ่งศึกษาชาวนาไทยเคยตั้งข้อสังเกตกับผมว่า คนไทยนั้นขี้อิจฉา

แน่นอน ผมย่อมแปลกใจ แต่ไม่ใช่แปลกใจที่คนไทยขี้อิจฉาในสายตาฝรั่ง แต่แปลกใจว่า อ้าวแล้วฝรั่งไม่ขี้อิจฉาบ้างหรือ

อันที่จริงในประสบการณ์ส่วนตัว ผมไม่เคยพบการอิจฉาริษยาของใครเลย ไม่ว่าจะเป็นฝรั่งหรือไทย นอกจากของตัวเอง

คืออย่างนี้นะครับ คงไม่มีใครอธิบายการกระทำของตัวว่ามาจากความอิจฉา ฉะนั้นทุกครั้งที่เราพบใครอิจฉาใคร ที่จริงแล้วเป็นคำอธิบายของเราเองต่อพฤติกรรมของเขาต่างหาก เราจะรู้จักความอิจฉาที่จริงได้ก็ต่อเมื่อมันเกิดในใจเราต่างหาก เราก็อาจบอกตัวเองไม่ให้ดังพอที่คนอื่นจะได้ยินว่า เออกูอิจฉามันว่ะ

ผมคิดว่าความอิจฉาเป็นความรู้สึกที่อยู่ลึก กว่ามันจะโผล่พ้นขึ้นมาเหนือสำนึกได้ มันคงถูกปรุงแต่งบิดเบี้ยวไปเพราะใครๆ ก็ถูกสอนมาว่าความอิจฉาเป็นสิ่งไม่ดี ฉะนั้น จึงหาแรงจูงใจอื่นที่ดูดีกว่าทับถมลงไปจนแม้แต่ตัวเองอาจไม่สำนึกก็ได้ว่านี่คือความอิจฉา

ฉะนั้น จึงไม่น่าสงสัยอะไรที่ข้อสังเกตของครูฝรั่งผมคงมาจากการตีความของท่านเอง ในฐานะนักมานุษยวิทยา (โดยเฉพาะสายที่สนใจศึกษาบุคลิกภาพเสียด้วย) ท่านมีหน้าที่ให้ความหมายแก่พฤติกรรมของคนที่ท่านศึกษา แล้วท่านก็คงอธิบายพฤติกรรมของคนไทยหลายประการว่ามาจากความอิจฉา

ความอิจฉาย่อมเกิดจากใจที่ไม่อยากเห็นคนอื่น "ได้ดี" ไปกว่าตัว แต่ "ได้ดี" เองก็มีความหมายหลายอย่าง แล้วแต่ใครจะนึกว่า "ดี" คืออะไร เช่น ได้ทรัพย์สมบัติ, ได้ชื่อเสียงเกียรติยศ, ได้เมียสวย, ได้ความนิยมของคนหมู่มาก ฯลฯ

ส่วนที่เขาได้นั้น เขาสมควรจะได้หรือไม่ เป็นอีกเรื่องหนึ่งเพราะแล้วแต่ใครจะวิเคราะห์เอาเอง คนอิจฉาที่ไหนๆ ก็ย่อมคิดเหมือนกันว่าเขาไม่สมควรจะได้

ในฐานะคนที่ยังตัดความอิจฉาริษยาออกไปจากใจไม่ได้หมด ผมจะไม่พูดอะไรเกี่ยวกับความอิจฉามากไปกว่านี้ล่ะครับ

แต่ผมอยากจะพูดว่า ไม่ว่าในสังคมใดหรือในยุคสมัยใด คนไม่เคยเสมอภาคกันจริงในทุกเรื่อง ฉะนั้นย่อมมีบางคน "ได้ดี" กว่าคนอื่นเป็นธรรมดาเสมอ ในวัฒนธรรมของชุมชนในประเทศไทย เขาจัดการกับความรู้สึกอิจฉาริษยาอย่างไร

ผมคิดว่าในวัฒนธรรมชุมชนแต่ก่อนนี้ มีกลไกทางสังคมบางอย่างที่ช่วยบรรเทาความรู้สึกเจ็บปวดจากความแตกต่างทางสังคม เพราะแม้ในชุมชนเกษตรกรรมยังชีพ ก็ยังมีความแตกต่างของสถานะทางเศรษฐกิจ, การเมือง และเกียรติยศอยู่นั่นเอง

เช่นคนมีที่ดินไม่เท่ากัน กลุ่มตระกูลที่ย้ายมาลงหลักปักฐานในหมู่บ้านก่อนคนอื่น มักเป็นตระกูลใหญ่ จับจองที่ดินไว้มาก เป็นเหตุให้มีสถานะทางการเมืองสูงกว่าชาวบ้านทั่วไป เช่นสืบทอดตำแหน่งนายบ้านหรือผู้ใหญ่บ้าน-กำนัน สืบมาในสายเครือญาติ แม้แต่สมภารของวัดประจำหมู่บ้านบางแห่ง ยังสืบสายเครือญาติมาจนถึงปัจจุบันด้วยซ้ำ

แต่ในท่ามกลางความแตกต่างทางสถานภาพเช่นนี้ มีกลไกทางวัฒนธรรมที่ช่วยให้คนจนพอเอาตัวรอดไปได้หลายอย่าง เช่นในภาคเหนือ มักมีพื้นที่ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ "หน้าหมู่" หรือเป็นสมบัติของชุมชน ซึ่งชาวบ้านที่ไม่มีที่ดินหรือมีที่ดินไม่พอทำกิน สามารถเอาไปใช้เพาะปลูกได้

ในภาคอีสาน พื้นที่บุ่งทามก็เป็นเหมือนพื้นที่ "หน้าหมู่" มีหน้าที่อย่างเดียวกัน

จริงอยู่ คนรวยก็มีสิทธิ์ใช้พื้นที่เหล่านี้เหมือนกัน และมักใช้อย่างได้กำไรมากกว่าคนจนด้วย แต่อย่างน้อยคนจนก็พอมีรูหายใจ คือพอมีข้าวไว้กรอกหม้อไปจนครบปีได้

ทั้งนี้ ยังไม่พูดถึงสมบัติสาธารณะอีกหลายอย่าง เช่น ปลาในห้วยหนองคลองบึง พืชผักผลไม้และสัตว์ในป่า บรรดาสิ่งทั้งหลายซึ่งมีมาเองตามธรรมชาติ โดยไม่มีใครไปลงแรงปลูกสร้างขึ้น ย่อมถือเป็นสมบัติสาธารณะของชุมชนทั้งสิ้น

ความแตกต่างทางฐานะเศรษฐกิจทิ่มตำให้ผู้คนเจ็บปวดก็จริง แต่ไม่แหลมคมเกินไปนัก เพราะอย่างน้อยก็พอดิ้นรนเอาตัวรอดไปได้ ยอมรับว่าแข่งเรือแข่งพายพอได้ แต่จะไปแข่งวาสนาบารมีนั้นทำไม่ได้

นอกจากนี้ยังมีความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ในชุมชน คือการที่คนรวยคนจน (หรือคนมีอำนาจกับคนไร้อำนาจ) จำเป็นต้องแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการระหว่างกัน แม้เป็นความสัมพันธ์ที่ (ถ้าใช้มาตรฐานการแลกเปลี่ยนสินค้าในตลาดเป็นเกณฑ์) ย่อมมีฝ่ายหนึ่งได้เปรียบอีกฝ่ายหนึ่งเสียเปรียบ แต่ก็มีความผูกพันที่มีอารมณ์ความรู้สึกระหว่างกันอยู่ในนั้นด้วย

อีกทั้งยังมีพิธีกรรมอีกหลายอย่างที่ช่วยดึงเอาผู้คนที่มีความแตกต่างนี้ลงมายืนในพื้นที่เสมอภาคกันได้เป็นครั้งคราว เช่นแห่นางแมวขอฝน ก็เป็นพิธีกรรมที่ตั้งใจละเมิดกฎเกณฑ์ทางสังคมที่ให้ความเคารพต่อความแตกต่างทางสถานภาพลงเสีย ในบางท้องที่ งานสงกรานต์ ก็ทำหน้าที่อย่างเดียวกัน

ในภาคเหนือ มีประเพณี "ทานทอด" คือทอดผ้าป่าโดยเฉพาะอาหารและเครื่องใช้ที่จำเป็นแก่คนจน โดยทำเหมือนทอดผ้าป่าให้สงฆ์ คือแอบเอาของเหล่านั้นไปวางใกล้ที่อยู่ของคนจน แล้วส่งสัญญาณให้เขามาเอาไป โดยผู้ให้หลบไปเสียไม่ให้เห็นหน้า

มองจากแง่บุคคล แต่ละคนพอจะหาที่ยืนในชุมชนได้ เพราะเกณฑ์ของสถานภาพไม่ได้ผูกติดกับเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว เช่น คนจนแต่บังเอิญเชี่ยวชาญด้านการรักษาพยาบาล ก็อาจเป็นหมอยาที่ได้รับความนับหน้าถือตา หมอผีก็เหมือนกัน หรือพายเรือเก่ง ไปจนถึงเป็นหมอลำได้ดี เป็นศิษย์โนราดัง เป็นต้น

พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ จนแล้วมีเกียรติก็ได้ มีอำนาจก็ได้ เพียงแต่เป็นอำนาจในบางกรณี ความมีหน้ามีตาถูกกระจายออกไปยังคนนานาประเภทในชุมชน

แต่กลไกทางวัฒนธรรมเหล่านี้สิ้นสลายลง หรือเปลี่ยนความหมายไปเสียมากแล้ว ในท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงที่นำสังคมไทยมาสู่สังคมสมัยใหม่

ความแตกต่างทางสถานภาพนานาประการนำเอาความเจ็บปวดมาทิ่มแทงผู้คนให้บาดลึกลงไปในบุคลิกภาพ ผู้คนจึงมองการ "ได้ดี" ของคนอื่นด้วยความสะดุ้งหวั่นไหวว่า สถานภาพของตัวยิ่งตกต่ำลงไปกว่าเดิมเมื่อคนอื่นกระเถิบสูงขึ้น ยากที่จะให้รู้สึก "พลอยยินดี" ไปกับเขาได้

ครูฝรั่งของผมเข้ามาทำงานเกี่ยวกับชาวนาไทยแถบบางชัน ซึ่งในสมัยนั้นอยู่ใกล้กรุงเทพฯ แค่คืบ ชุมชนกำลังเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว สถานภาพและความผูกพันที่เคยมีมากำลังแปรเปลี่ยนไป ถ้าแถบบางชันเคยมีสมบัติสาธารณะใดๆ มาก่อน ก็กำลังร่อยหรอลง เพราะคนมือยาวกว่าเข้าไปช่วงชิงใช้สอยแต่ผู้เดียว หรือเสื่อมสภาพเพราะไม่มีการบำรุงรักษา

ในสภาพอย่างนี้แหละครับที่ผมคิดว่า นักมานุษยวิทยาอาจตีความพฤติกรรมของผู้คนได้ว่าขี้อิจฉา คือไม่อยากเห็นใคร "ได้ดี" ไปกว่าตัว

และในภายหลัง สภาพอย่างนี้ไม่ได้เกิดที่บางชันแห่งเดียว แต่ระบาดไปทั่วประเทศไทย ฉะนั้นถ้าพูดถึงความใจแคบของคนอันเกิดจากการที่ถูกพรากจากความสัมพันธ์ในชุมชน กลายเป็นปัจเจกที่ไร้ความมั่นคงใดๆ ในชีวิต ว่าคือความขี้อิจฉา เราก็อาจพูดได้ว่าคนไทยขี้อิจฉากระมัง

อันที่จริง กลไกทางวัฒนธรรมที่ผมยกมากล่าวข้างต้นล้วนทำงานไม่ได้ผลไปแล้วทั้งนั้น เพราะเมื่อเป็นกลไก มันก็ต้องทำงานโดยอิงอาศัยกัน จะหยิบเอาบางชิ้นส่วนขึ้นมาให้ทำงานเหมือนกันย่อมไม่ได้

ผมมีกรณีตัวอย่างที่เคยได้ฟังจากนักมานุษยวิทยาอีกท่านหนึ่ง คือท่านอาจารย์ ม.ร.ว.อคิน รพีพัฒน์

ท่านเล่าด้วยความสลดใจว่า ท่านเองมีส่วนสำคัญในการทำลายบารมีของผู้นำสลัมคนหนึ่งลงโดยไม่ได้ตั้งใจ เรื่องของเรื่องก็คือ มีองค์กรอะไรอันหนึ่งเอาผ้าห่มไปแจกชาวสลัมผ่านผู้นำคนนั้น ท่านผู้นำก็โชคร้ายที่มาพบท่านอาจารย์อคินเสียก่อนจะได้แจกผ้าห่ม

ท่านผู้นำถามท่านอาจารย์ว่าจะแจกอย่างไรดี เพราะมีไม่ครบคน ในฐานะนักเรียนอังกฤษนะครับ ท่านอาจารย์อคินก็แนะนำว่า ควรแจกตามความจำเป็น คือใครจนไม่มีผ้าห่มก็ควรแจกคนนั้น

ด้วยความสนิทสนมและเคารพนับถือกันมานาน ท่านผู้นำก็เชื่อจึงแจกผ้าห่มตามหลักสังคมนิยมเฟเบียนเป๊ะเลย

ผลก็คือ เหล่าบริวาร โดยเฉพาะที่เป็นมือขวามือซ้ายของผู้นำพากันโกรธเคืองลูกพี่อย่างไม่เคยมาก่อนเลย รองหัวหน้าซึ่งเคยเป็นมือขวาบ่นให้ท่านอาจารย์อคินฟังว่า ผมกับมันร่วมหัวจมท้ายกันมาตลอด ช่วยเหลือเป็นธุระของมันมาทุกอย่าง ดูสิ แทนที่จะแจกผ้าห่มให้ผม กลับเอาไปแจกคนอื่นหมด ไม่แจกผมเลยสักผืน

ตั้งแต่นั้นมาก็เลิกนับถือเป็นลูกพี่อีกต่อไป

ท่านอาจารย์อคินสรุปว่า หลักสังคมนิยมเฟเบียนใช้กับความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ไม่ได้ เพราะคนควรเข้าถึงทรัพยากรตามลำดับความสัมพันธ์ในโครงสร้างของการอุปถัมภ์ ไม่ใช่ความจำเป็นในชีวิต

อย่าลืมนะครับว่า ความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์คือการแลกเปลี่ยน ฉะนั้น การอดผ้าห่มจึงเท่ากับโดนโกง ไม่ใช่เรื่องที่ไม่รู้จักการเสียสละให้แก่คนที่ขาดแคลน นั่นมันเรื่องทำบุญ คนละเรื่องกัน

ความเข้าใจของท่านอาจารย์อคินต่อกรณีนี้คงใช่แน่ แต่ผมอดตะขิดตะขวงใจไม่ได้ว่า แล้วในความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ของไทยนั้นไม่มีการจัดการให้ทรัพยากรถึงมือคนที่เข้าไม่ถึงเลยหรือ นอกจากต้องเข้าไปอยู่ในเครือข่ายอุปถัมภ์เท่านั้น ถ้าอย่างนั้น คนที่มีอยู่แล้วมิยิ่งมีกันมากขึ้นจนล้นเหลือหรือ

ผมคิดในใจของผมเองว่า สมมติว่าลูกพี่เชื่อท่านอาจารย์อคิน แต่ใช้วิธีดำเนินงานอีกอย่างหนึ่ง คือประชุมสมุนของตัว บอกหลักการให้ทราบ แล้ววานให้สมุนชั้นนำของตัวนำผ้าห่มไปแจกแทน ก็จะไม่มีใครกบฏต่อลูกพี่

ไม่ใช่เพราะสมุนต่างพากันโกงด้วยการเก็บผ้าห่มไว้เองโดยไม่แจกนะครับ แต่เป็นเพราะลูกพี่เปิดโอกาสให้สมุนได้ใช้ทรัพยากรผ้าห่มไปขยายเครือข่ายอุปถัมภ์ของตัวเอง พูดภาษาชาวบ้านก็คือ ถึงแม้สมุนจะไม่ได้ผ้าห่มไว้เอง แต่ก็ได้สร้างบารมีของตัวกับชาวบ้าน ถ้าพูดภาษาชาววัดก็คือ ได้ร่วมทำบุญจนได้หน้าไม่น้อยไปกว่ากัน

ทุกคนได้หมด รวมทั้งสังคมนิยมเฟเบียนด้วย

แต่จะทำอย่างนั้นได้ ต้องอาศัยกลไกทางวัฒนธรรมอีกหลายอย่างในชุมชนซึ่งผู้นำเข้าไม่ถึงเสียแล้ว

การเผชิญกับโลกแห่งปัจเจก

ผมเพิ่งเข้ากรุงเทพฯ มา นอกจากธุระที่ต้องไปทำแล้ว สิ่งที่ตั้งใจจะเข้าไปจ้องดูในกรุงเทพฯ คือกางเกงเอวต่ำครับ

ก็เขาลือกันเหลือเกิน ทั้งด้วยปากและด้วยสื่อว่า มันต่ำจนจะถอนรากถอนโคนวัฒนธรรมไทยให้โค่นลง ขนาดบางรัฐของอเมริกายังออกกฎหมายเอาผิดกับเอวผู้หญิงเลย เสียแต่ศาลสูงไม่เล่นด้วยเท่านั้น

ผมไม่ได้เห็นขอบเอวกางเกงหรอกครับ ผ่าไปดูไอ้ที่อยู่เหนือเอวเสียจนลืมไป

อันที่จริงที่ผมดูๆ นั่นจะว่าดูแต่ที่อยู่เหนือขอบเอวกางเกงก็ไม่จริงทีเดียวนัก ผมก็ดูเลยขึ้นมา และเลยลงไปเหมือนผู้ชายอื่นแหละครับ และพบว่ากางเกงเอวต่ำนั้นเป็นเพียงส่วนเดียวของการแต่งกายที่มีจุดมุ่งหมายอันหนึ่งอันเดียวกัน

จุดมุ่งหมายที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันนั้นคืออะไร ผมขอเรียกอย่างมัวๆ ว่าต้องการให้ดูเซ็กซี่ครับ

เสียแต่ว่าผมไม่รู้ว่าเซ็กซี่แปลว่าอะไรแน่ เพราะเคยคุยกับเพื่อนฝูง ต่างให้ความหมายไม่สู้จะตรงกันนัก ฉะนั้น ผมขอใช้คำนี้ตามความหมายของผมเท่านั้น

นั่นก็คือ มุ่งประสงค์จะให้ร่างกายของตัวน่าใคร่

แต่ฟังให้ดีนะครับ ความน่าใคร่นั้นเป็นเพียงหนึ่งในคุณสมบัติของตัวที่อยากแสดงต่อคนอื่น (ทั้งเพศเดียวกันและเพศตรงข้าม) แต่ไม่ใช่อย่างเดียว ไม่มีใครในโลกนี้หรอกครับที่อยากมีคุณสมบัตินี้เพียงอย่างเดียว ไม่เชื่อก็ไปบอกคนรักของคุณสิครับว่า ที่คุณรักเธอก็เพราะคุณสมบัติข้อนี้ข้อเดียวแหละ แล้วดูว่าจะโดนตบหรือไม่

ผมไม่ทราบว่า การแสดงคุณสมบัติข้อนี้เป็นวัฒนธรรมหรือธรรมชาติ ในสัตว์นั้น คุณสมบัติข้อนี้แสดงออกให้เพศตรงข้ามรับรู้ในฤดูติดสัด บางชนิดเป็นกลิ่น, บางชนิดเป็นสีขน, บางชนิดเป็นเสียงร้อง ฯลฯ เป็นต้น

แต่ในคน นักวิทยาศาสตร์เขาบอกว่าก็แสดงคุณสมบัติความพร้อมในการร่วมเพศทางร่างกายเช่นกัน แต่ประสาทสัมผัสของมนุษย์ซึ่งถูกวัฒนธรรมครอบงำเสียจนชาๆ ไปมาก อาจจับไม่ได้ (เช่นกลิ่นที่ต่างจากเคย) ที่ผมไม่ทราบแน่ก็คือ มนุษย์จึงใช้การตกแต่งร่างกายเข้ามาช่วยด้วยหรือไม่

สร้อยเปลือกหอยไปจนถึงลูกปัด หรือกำไลสำริดของมนุษย์โบราณนั้น นอกจากบอกสถานะทางสังคมแล้ว ยังเป็นเครื่องมือสำหรับแสดงความน่าใคร่ของผู้ใช้หรือไม่ อันนี้ผมไม่ทราบครับ ฉะนั้น จึงไม่ทราบว่าแฟชั่นเสื้อผ้า, น้ำหอม, เครื่องประดับ, ฯลฯ ที่ผู้หญิงนิยมใช้ในปัจจุบันนั้นมีจุดมุ่งหมายเพื่อทำให้ผู้ใช้เซ็กซี่หรือไม่

อย่างไรก็ตาม ผมเชื่อว่าความน่าใคร่เป็นส่วนหนึ่งของการอวดคุณสมบัติของมนุษย์ต่อคนอื่นมาแต่โบราณแล้ว จะเป็นด้วยธรรมชาติหรือวัฒนธรรมก็ตาม เพียงแต่ว่าในสมัยโบราณอาจไม่ใช่คุณสมบัติที่เด่นสุดสำหรับอวดเพศตรงข้ามเท่านั้น ความเรียบร้อย, ความฉลาด, ฐานะทางการเงิน, ความเป็นลูกผู้ดีมีตระกูล ฯลฯ อาจสำคัญกว่า

อย่างพวกที่ต่อต้านกางเกงเอวต่ำยกขึ้นพูดเสมอว่า ลูกผู้หญิงในวัฒนธรรมไทยต้องไม่เอาเนื้อหนังมังสามาอวด หรือพูดอย่างผมก็คือ ต้องไม่ดูน่าใคร่ (ซึ่งผมไม่เชื่อนะครับ) แต่ต้องอวดคุณสมบัติอื่นๆ อย่างที่วัฒนธรรมไทยยกย่อง เช่น ความเป็นกุลสตรี, ความเรียบร้อย, ความมีมารยาท, ความรักนวลสงวนตัว, ฯลฯ

ผมคิดว่าน่าสนใจที่พวกต่อต้านกางเกงเอวต่ำใช้สิ่งที่เรียกว่าวัฒนธรรมไทยเป็นบรรทัดฐานในการต่อต้าน ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงนั้น วัฒนธรรมไทยก็เหมือนวัฒนธรรมอื่นๆ ในโลกนี้ ย่อมไม่หยุดนิ่ง แต่แปรเปลี่ยนไปเรื่อยตามเหตุปัจจัยที่แวดล้อม วัฒนธรรมไทยที่หยุดนิ่งเป็นเพียงพื้นที่ซึ่งผู้หญิงมวยโตๆ กันเอาไว้ให้ตัวเองได้เล่นเป็นกรรมการในคณะกรรมการทางวัฒนธรรมของหน่วยราชการต่างๆ เท่านั้น


ในทางตรงกันข้าม ผมคิดว่าในวัฒนธรรมไทยปัจจุบันความน่าใคร่กลายเป็นคุณสมบัติที่มีความสำคัญสำหรับไว้อวดมากขึ้น โดยเฉพาะในหมู่เพศหญิง (แต่ขอย้ำนะครับว่าไม่ใช่คุณสมบัติอย่างเดียวอยู่นั่นเอง) ฉะนั้น ถ้าเอาวัฒนธรรมไทยเป็นเกณฑ์ กางเกงเอวต่ำนั่นแหละถูกต้องตรงตามวัฒนธรรมไทยเป๊ะอยู่แล้ว เพราะหลังจากโชว์ความน่าใคร่ด้วยเสื้อเอวลอย, สายเดี่ยว, เกาะอกมานานแล้ว มันก็ชักจะจืดจนไม่ดึงดูดอารมณ์ความรู้สึกอีกแล้ว ก็ตองหาสิ่งใหม่มาเสริม กางเกงเอวต่ำเข้ามาในจุดที่พอดีๆ ของการแสวงหาความน่าใคร่

ผมจึงไม่รู้สึกวิตกกังวลอะไรกับกางเกงเอวต่ำ แล้วอีกไม่นานก็คงจะเปลี่ยนไปอีก ส่วนจะเปลี่ยนไปในทางเปิดมากขึ้นหรือปิดมากขึ้นนั้น ผมทำนายไม่ถูก เพราะความรู้สึกว่าน่าใคร่นั้นเป็นธรรมารมณ์อย่างยิ่ง ไม่ได้มีเหตุผลแบบเส้นตรง (Iinear) หรอกครับ กลับตาลปัตรก็เกิดขึ้นได้บ่อยๆ

แต่ปัญหาที่น่าวิตกแก่ผมมากกว่าก็คือ ในบรรดาเด็กผู้หญิงที่นุ่งกางเกงเอวต่ำนั้น จะมีสักกี่คนที่นุ่งเพราะอยากจะแสดงความน่าใคร่ของตนเอง จะถึงครึ่งหนึ่งไหม ?

หรือส่วนใหญ่แล้วนุ่งเพราะกลัวคนอื่นจะหาว่าเชย, เพื่อนไม่ยอมให้ร่วมแก๊ง, กลัวความโดดเดี่ยวเพราะไม่เหมือนคนอื่น ฯลฯ อะไรทำนองนี้

อย่างน้อยวัยรุ่นสองสามคนที่ผมมีโอกาสคุยด้วย ยืนยันว่าไม่ได้นึกถึงความน่าใคร่แต่อย่างใดทั้งสิ้น หากเห็นเป็นแฟชั่นที่เก๋ดี และใครๆ เขาก็นุ่งกัน ขนาดต้องนุ่งปิดๆ บังๆ ออกมาจากบ้านก็ยังยอม

ตรงนี้สิครับที่ผมเห็นว่าน่าวิตกกว่าวัฒนธรรมรักนวลสงวนตัว ซึ่งเคยมีจริงในวัฒนธรรมไทยหรือไม่ก็น่าสงสัยอยู่เพราะการยอมต่อแรงกดดันของสังคม (สังคมของเขานะครับ ไม่ใช่สังคมของคุณพ่อคุณแม่หรือคุณยาย) อย่างไม่ต่อรองเลยนั้นต่างหาก ที่เป็นปัญหาต่อวัยรุ่นไทยมากกว่า ช้ำยังจะเป็นปัญหาสืบเนื่องไปตลอดชีวิตของเขาด้วย

และผมออกจะสงสัยว่า แม้วัยรุ่นทั้งโลกจะแสวงหาบทบาทของตัวจากกลุ่มเดียวกันหรือที่ฝรั่งเรียกว่า peer group (คือเพื่อนฝูง, คนในวัยเดียวกัน, ดาราซึ่งคนในวัยเดียวกันยอมรับ ฯลฯ) แต่วัยรุ่นไทยจำนนต่อสังคมหรือคนในกลุ่มทางสังคมของตนมากกว่า

พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ แฟชั่นทุกชนิด, ความนิยม, ความคลั่งไคล้, อนุวัฒนธรรม (sub-culture) มีอิทธิพลแก่วัยรุ่นไทยมากกว่าวัยรุ่นของอีกหลายสังคม

ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น

ผมคิดว่าทั้งหมดนี้มาจากการที่สังคมไทยหรือครอบครัวไทย ก้าวเข้าสู่วัฒนธรรมปัจเจกชนนิยมอย่างไม่เตรียมตัว หรือไม่พร้อม เพราะไม่มีการพัฒนาแปรเปลี่ยนวัฒนธรรมไทยให้รับกับกระแสปัจเจกชนนิยมได้อย่างสัมฤทธิผล


ไม่ว่าเราจะชอบหรือไม่ชอบปัจเจกชนนิยม แต่กระแสนี้ก็หลั่งไหลเข้ามาหาเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะมีเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ, การเมือง, กฎหมาย, ฯลฯ ที่ทำให้เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ ขอยกตัวอย่างเพียงเรื่องเดียวที่เห็นได้ง่ายๆ นะครับ เช่น กฎหมายสมัยใหม่ ถือเอาปัจเจกเป็นฐานของความสัมพันธ์ทางสังคม ฉะนั้น ลูกไปขโมยของเขา พ่อแม่จึงไม่ต้องรับผิดชอบ ผิดจากกฎหมายโบราณที่ถือว่าครอบครัวและญาติสนิทต้องร่วมรับผิดชอบต่อการกระทำของบุคคล

ทุกคนจึงต้องเป็นปัจเจกอยู่ส่วนหนึ่งในชีวิต ส่วนจะมากหรือน้อยในสำนึกนั้นก็แล้วแต่คนไป

การเป็นปัจเจกนั้นไม่ง่ายเท่าไรนะครับ เพราะต้องมีพลังกำกับตัวเองสูงมาก ผมขอเรียกพลังกำกับตัวเองนี้ว่าพลังทางศีลธรรม ซึ่งไม่อาจมาจากคำสั่งสอนแต่เพียงอย่างเดียว เพราะในชีวิตจริงของปัจเจกซึ่งไม่มีประเพณีหรือชุมชนคอยกำกับนั้น จำเป็นต้องคิดใคร่ครวญหนทางปฏิบัติที่ถูกต้องตามคำสั่งสอนที่ได้รับมาอยู่ตลอดเวลา เพราะประสบการณ์ของคนในสังคมปัจเจกนั้น ไม่เป็นสูตรตายตัวซ้ำเดิมตลอดเวลา มีเงื่อนไขในแต่ละกรณีที่แตกต่างกันอย่างละเอียดอ่อน ไม่อาจใช้กฎเกณฑ์ทางศีลธรรมโดยไม่ใคร่ครวญให้รอบด้านได้

ใครๆ ก็อยากได้รับการยอมรับจากคนรอบข้างทั้งนั้น แต่แค่ไหนจึงไม่เสียความเป็นตัวของตัวเอง ไม่เสียหลักการ ไม่เสียสิ่งอื่นที่มีความสำคัญกว่าหรือเท่ากันสำหรับชีวิต

ยิ่งไปกว่านี้ การไม่ทำตามแรงกดดันก็ไม่จำเป็นต้องหมายถึงการตัดญาติขาดมิตร ต้องทำอย่างไรจึงจะทำให้สังคมรอบข้างที่กดดันยอมรับความแตกต่างของตัว นี่ก็เป็นยุทธวิธีที่ต้องใช้ความคิดมาอย่างดีเหมือนกัน

และในทางตรงกันข้าม สังคมปัจเจกที่จะมีความสุขสงบอยู่ได้ ก็ต้องเป็นสังคมที่ยอมรับความแตกต่างของคนอื่นด้วย

การยอมรับความต่าง คือการมองเห็นความดีความงามในความหลากหลายอย่างจริงใจ ไม่ใช่แต่เพียงพูดสรรเสริญความหลากหลายไปตามแฟชั่น ข้อนี้ก็ต้องคิดและจินตนาการถึงเงื่อนไขและสถานการณ์ที่แตกต่างเป็น

ย้อนกลับมาดูว่าครอบครัวไทยได้เตรียมลูกให้เข้าสู่สังคมปัจเจกไว้ดีแค่ไหน ผมค่อนข้างจะรู้สึกว่าไม่ได้ทำ หรือทำในทางตรงกันข้ามด้วยซ้ำ เช่น พูดเสมอว่าเราไม่สอนให้เด็กคิดเองเป็น แต่มักจะสั่งกฎต่างๆ มาให้ยึดถืออย่างตายตัว พ่อแม่ไทยเองนั่นแหละครับที่สอน

เคยมีงานวิจัยการเรียนรู้ของเด็กไทยที่พบว่า พ่อแม่ไทยนั้นจะสอนลูกเกี่ยวกับสังคมศึกษาและวัฒนธรรมมากที่สุด นั่นก็คือสอนให้เด็กได้รู้กฎเกณฑ์ทางสังคม และความคาดหวังตามอุดมคติในวัฒนธรรมไทย พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ สอนให้ลูกจำนนต่อสังคมอย่างปราศจากเงื่อนไข เพียงแต่สังคมที่พ่อแม่สอนให้ลูกจำนนนั้นเป็นสังคมในอุดมคติซึ่งลูกไม่ได้พบในชีวิตจริงเท่านั้น

(เช่นสอนให้เคารพเชื่อฟังผู้ใหญ่ โดยไม่ได้บอกว่าผู้ใหญ่ที่ว่านั้นคือผู้ใหญ่ในอุดมคติ ไม่ได้มีอยู่ทั่วไปในชีวิตจริงซึ่งลูกจะได้พบในภายหน้า)

ผลก็คือคนไทยเข้าคนเก่ง แต่ไม่ค่อยมีศักยภาพที่จะฝืนกลุ่ม หรือแตกต่างจากกลุ่ม กลัวเชย กลัวตกรุ่น กลัวผู้ใหญ่ไม่มอง กลัวไม่มีเพื่อน กลัวไปเสียหมดทุกอย่าง และคนไทยจำนวนไม่น้อยเข้าใจปัจเจกชนนิยมแต่เพียงว่า "ทำได้ตามใจคือไทยแท้"

โรงเรียนก็ไม่ได้แก้อะไรในเรื่องนี้ ยิ่งตอกย้ำการทำลายปัจเจกภาพ (individuality) ของเด็กลง จนกระทั่งยกพวกตีกัน, นุ่งสั้น, เดินห้าง, นุ่งกางเกงเอวต่ำ ฯลฯ เหมือนกันไปหมด

ปัจเจกที่เคารพตนเอง มีความเชื่อมั่นในตนเองอย่างมีเหตุผล แต่เข้ากับคนอื่นได้ โดยไม่มีปัญหา เป็นมนุษย์พันธุ์ใหม่ที่ควรเกิดขึ้นตามสังคมปัจเจกชนนิยม แต่เราผลิตมนุษย์พันธุ์ใหม่อย่างนี้ไม่ได้ เราจึงเปลี่ยนมันเป็นคนที่ได้รับการยอมรับจากคนอื่นด้วยอำนาจ, เงินตรา หรือชื่อเสียงเกียรติยศ เพราะถ้าได้เครื่องมือสามอย่างนี้แล้ว ถึงจะแตกต่างอย่างไร ก็จะได้รับการยอมรับจากคนไทยอย่างดีเสมอ

ความเห็นและความรู้

โดยยังตรวจไม่ละเอียดพอ ผมขอด่วยสรุปว่า คำว่า "ความรู้" ในภาษาไทยเป็นคำที่เพิ่งสร้างขึ้นใหม่ ที่เราเรียกว่า "ความรู้" ในปัจจุบันนั้น แต่ก่อนเขาเรียกว่า "วิชา" (หรือวิทยา ซึ่งความหมายไม่ตรงกับคำนี้ในปัจจุบัน) เช่นเป็นผู้ทรงวิทยาคุณ

น่าสังเกตนะครับว่า "วิชา" ที่รากบาลี ซึ่งหมายถึงความรู้ในทางธรรมหรือโลกุตรธรรม เช่นรู้อะไรที่รายการเกมในทีวีชอบถามไม่ใช่ความรู้อย่างนั้น เพราะถึงรู้ไปก็ไม่ทำให้เกิดคลายกำหนัด (นิพพิทา) แต่อย่างไร

ฉะนั้น คนไทยแต่ก่อนจึงรู้อยู่แล้วว่าความรู้ไม่เคยอยู่ลอยๆ หากมีฐานอยู่กับโลกทรรศน์ชนิดหนึ่งเสมอ แล้วก็ยกย่องเฉพาะความรู้ที่มีฐานอยู่กับโลกทรรศน์ที่โน้มไปทางธรรม จะปกครองประเทศ, จะครองเรือน, จะเป็นข้าราชการ หรือความรู้อะไรก็ตาม ถ้าไม่มีฐานอยู่กับธรรมหรือโลกุตรธรรม ท่านก็ไม่ยกย่องว่าเป็นความรู้

แต่พอมาคบฝรั่งมากขึ้นในสมัยหลัง จะแปลคำว่า knowledge อย่างไรดี เพราะฝรั่งในช่วงที่มาคบกับเรานั้นเชื่อว่าความรู้เป็นสิ่งที่มีอยู่จริงนอกตัวเรา นักวิชาการหรือนักปราชญ์สามารถใช้สติปัญญาเข้าไปสัมผัสความจริงที่แขวนไว้ข้างๆ ดวงจันทร์ข้างนอกโน่นได้ ไม่ได้เกี่ยวอะไรเลยกับปรมัตถธรรมหรือความเห็นอะไรของใครทั้งนั้น ฉะนั้น จะแปล knowledge ว่า "วิชา" อย่างเดิมจึงไม่ตรงนัก ต้องสร้างคำใหม่ว่า "ความรู้" ขึ้นมา

(อักขราภิธานศรับท์ของหมอบรัดเลย์ แปล "ความรู้" ว่า "คือความที่รู้วิชาการต่างๆ นั้น")

ความรู้อย่างนี้แหละครับที่ฝรั่งเชื่อว่าบริสุทธิ์เพราะไม่มีความเห็นเจือปน ความรู้จึงแน่นอนตายตัว และย่อมมีอยู่หนึ่งเดียว ในขณะที่ความเห็นเอาแน่ไม่ได้ แล้วแต่จะเป็นความเห็นของใคร

น่าสนใจเหมือนกันนะครับที่จะรู้ว่า knowledge ในภาษาอังกฤษนั้นมาจากคำว่า knowlechen ของภาษาอังกฤษสมัยกลางซึ่งแปลว่า acknowledge คือรับรู้ เหมือนมีอะไรอยู่แล้ว เราไปรับรู้สิ่งนั้น

ผมยกเรื่องนี้ขึ้นมาพูดเพื่อจะบอกว่า ถึงจะเรียกมันให้ไพเราะว่าฐานคิด, โลกทรรศน์, หรือกระบวนทรรศน์ อะไรก็ตาม ความรู้ก็คือความเห็นอย่างหนึ่ง หรืออย่างน้อยก็งอกออกมาจากความเห็นเท่านั้น

แต่เพราะเชื่อตามฝรั่ง (สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้น 20) เราจึงแยกความรู้และความเห็นออกจากกันอย่างเด็ดขาด ความรู้เป็นสิ่งที่ต้องแสวงหา ในขณะที่ความเห็นเป็นสิ่งที่ทุกคนได้รับแจกมาฟรีๆ ด้วยเหตุดังนั้นความรู้จึงมีสถานะสูงกว่าความเห็น มิได้แต่กับคนที่ได้รับการศึกษาจนบรรลุถึงความรู้แล้วเท่านั้น คนที่ไม่ได้รับการศึกษา (หรือถึงได้รับแต่ไม่มีคุณภาพพอ) ก็มีได้แต่ความเห็น

เห็นได้ชัดนะครับว่า นิยามของความรู้แบบนี้เป็นเรื่องของอำนาจโดยตรง นั่นคือการยกอำนาจให้แก่คนที่อ้างว่าสามารถบรรลุถึงความรู้แล้ว (แม้เพียงบางด้าน) ในขณะที่รอนอำนาจและสิทธิของคนที่ไม่สามารถทำให้คนอื่นเชื่อว่าตัวได้บรรลุถึงความรู้ (ซึ่งมักเป็นคนทั่วไป-คนส่วนใหญ่)

ข้อสรุปที่ไม่ต้องประกาศออกมาก็คือ คนมีความรู้มีประโยชน์มากกว่า และมีความชอบธรรมที่จะมีอภิสิทธิ์ ทั้งทางเปิดเผยและไม่เปิดเผย

อย่างไรก็ตาม ความรู้ไม่ได้ลอยแขวนอยู่ข้างดวงจันทร์ภายนอกโน่น หากเป็นคำอธิบายที่ถูกมนุษย์เราสร้างขึ้นมาเอง และในกระบวนการสร้างความรู้นั้น เอาเข้าจริงก็เริ่มต้นขึ้นที่ความเห็นก่อนทั้งนั้น (จะโดยรู้ตัวหรือไม่ก็ตามที) เพราะในการตอบปัญหาหนึ่งๆ เราต้องเริ่มที่ความเห็นว่าแนวทางหาคำตอบน่าจะไปในทิศทางอย่างนั้นอย่างนี้ แล้วจึงลงมือค้นหาข้อมูลวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูล ในที่สุดอาจกลับพบว่าความเห็นที่ใช้เริ่มต้นค้นหาคำตอบนั้นไม่เป็นสับปะรด ต้องทิ้งไป ตั้งความเห็นใหม่ ทำซ้ำอีก จนกว่าจะได้คำตอบอันน่าพอใจแก่ตนเอง

ถ้าไม่มีความเห็นเป็นแนวทางมาแต่ต้น แม้แต่จะเก็บรวบรวมข้อมูลยังทำไม่ได้เลยด้วยซ้ำ เพราะไม่มีทางจะรู้ว่าข้อมูลไหนเกี่ยวหรือไม่เกี่ยวกับการจะหาคำตอบ ยังไม่พูดถึงการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล จนได้ข้อสรุปบางอย่างออกมา ก็ล้วนตกอยู่ใต้การกำกับของความเห็นทั้งนั้น


แม้แต่จะตอบคำถามทางวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ก็มีความเห็นกำกับมาตั้งแต่ต้นเหมือนกัน ดังที่เขาเรียกกันว่า "กระบวนทรรศน์" ซึ่งเป็นความเห็นล้วนๆ เลยก็ว่าได้

ที่เรารู้สึกว่าความรู้มักจะ "จริง" เสมอนั้น ก็เพราะถ้าเราเริ่มต้นแสวงหาความรู้จากความเห็นทำนองเดียวกัน โอกาสที่คำตอบจะออกมาคล้ายกันหรือตรงกันเป๊ะมักเกิดขึ้นเสมอ เพราะความเห็นซึ่งเป็นตัวสร้างคำถามนั้นกำกับกระบวนการแสวงหาความรู้นับตั้งแต่เก็บข้อมูลขึ้นไปจนสรุปคำตอบเป็นอันเดียวกัน

ความรู้กับความเห็นจึงแยกจากกันไม่ได้เด็ดขาด

ผมควรกล่าวด้วยว่า แม้แต่ความเห็นก็ไม่ได้อยู่ลอยๆ เหมือนกัน นอกจากเกิดจากการอบรมเลี้ยงดูและประสบการณ์ของแต่ละคนแล้ว ยังมีอีกส่วนหนึ่งซึ่งมีส่วนกำหนดฐานคิดของเราอย่างสำคัญ ผมขอเรียกว่า "อคติของอำนาจ) นั่นก็คือความรู้ที่ถูกสร้างขึ้นนั้น จะใช้ไปทำอะไรและเพื่อใคร

"อำนาจ" (ทั้งทางการเมือง, เศรษฐกิจ หรือวัฒนธรรม ทั้งในชาติหรือระหว่างชาติ) ย่อมทำทั้งทางตรงและทางอ้อมที่จะให้การสร้างความรู้นั้นเป็นประโยชน์แก่การจรรโลงไว้ซึ่ง "อำนาจ" การครอบงำทางตรงนั้นเข้าใจง่าย เช่นการกำหนดเงื่อนไขของทุนวิจัยเป็นต้น แต่การครอบงำทางอ้อมนี่สิครับที่ยากจะหลุดรอดไปได้ จนกว่าจะเข้าใจเรื่องนี้ให้ดี เพราะมันชักจูงให้เราแสวงหาความรู้เพื่อรับใช้ "อำนาจ" โดยไม่รู้สึกตัว

เช่นในเมืองไทยนั้นมีงานวิจัยเพื่อให้ความรู้ที่ได้มาสนับสนุนการส่งออกมากมาย ทั้งๆ ที่ทุกคนก็รู้ว่ากระบวนการส่งออกของไทยนั้นตั้งอยู่บนการเอารัดเอาเปรียบชาวไร่ชาวนาและกรรมกรมากมายเหมือนกัน แต่งานวิจัยที่จะเพิ่มพลังการต่อสู้ของคนถูกเอารัดเอาเปรียบกลับแทบจะไม่มีเอาเลยเป็นต้น

ผมเชื่อว่าความเข้าใจว่าความรู้กับความเห็นแยกจากกันไม่ได้นี้มีความสำคัญในการศึกษามาก จนแทบจะกล่าวได้ว่าเป็นหัวใจของการศึกษาทีเดียว เพราะการศึกษาไม่ควรทำให้เราได้เรียนรู้แต่ตัวความรู้ (อะไรคืออะไร) เพียงอย่างเดียว แต่ต้องเรียนให้ลึกไปถึงระดับความเห็นซึ่งเป็นฐานคิดให้แก่การเกิดขึ้นของความรู้นั้นๆ ด้วย

ที่พูดกันว่านักเรียนไทยไม่รู้จักการวิพากษ์วิจารณ์นั้น ก็เพราะเราไม่เคยสอนความรู้ให้ลึกไปถึงระดับความเห็น ถ้าไม่เข้าใจว่าความรู้นั้นๆ เกิดจากความเห็นอะไร ก็วิจารณ์ได้แค่ระดับตรวจสอบข้อมูลเท่านั้น มองไม่เห็นช่องทางที่จะสร้างคำอธิบายที่แตกต่างหรือเป็นทางเลือกอื่น (ซึ่งอาจดีกว่าหรือเลวกว่าก็ได้)

ผมไม่ได้ปฏิเสธนะครับว่า ความรู้กับความเห็นนั้นต่างกัน อย่างน้อยความรู้ก็เป็นความเห็นที่มีการตรวจสอบมาระดับหนึ่ง และมีกระบวนการที่ถูกคนอื่นตรวจสอบได้ แต่ความรู้ไม่ใช่ความจริง ความรู้ไม่ได้ปลอดจากอคติ (ซ้ำยังสร้างกำแพงขวางกั้นการตรวจสอบอคติไว้แน่นหนากว่าความเห็นเสียด้วย)

เราไม่ชอบให้นโยบายสาธารณะเกิดจากความเห็นเพียงอย่างเดียวแน่ แต่ไม่ใช่เพราะความเห็นด้อยกว่าความรู้ หากเป็นเพราะนักการเมืองและข้าราชการผู้วางนโยบายสาธารณะเป็นอำนาจนิยมต่างหาก พวกเขาผลักดันความเห็นของตัวด้วยอำนาจและความรุนแรงเสมอ ทำให้ไม่อาจตรวจสอบความเห็นของเขาซึ่งทำง่ายอยู่แล้วเพราะถูกขัดขวาง

ผมคิดว่าในสังคมประชาธิปไตย นโยบายสาธารณะควรเกิดขึ้นจากการที่ทุกคน (รวมข้าราชการและนักการเมือง) สามารถเสนอความเห็นได้เท่าๆ กัน ฉะนั้นทุกความเห็นจึงอาจถูกตรวจสอบได้เท่ากันด้วย

กระบวนการตรวจสอบนี่แหละที่จะทำให้เกิดการพัฒนาความเห็นขึ้นมาเป็นความรู้ ซ้ำเป็นความรู้ที่หลากหลายเสียด้วย เช่นถ้าความเห็นเรื่องการจัดการน้ำด้วยวิธีอันหลากหลายไม่ถูกการใช้อำนาจย่ำยีบีฑาอย่างที่ผ่านมา ป่านนี้นอกจากสังคมไทยจะมีความรู้ในด้านการจัดการน้ำซึ่งเรียนมาจากฝรั่งแล้ว ยังจะเกิดความรู้ที่มีฐานอยู่ที่ภูมิปัญญาชาวบ้านซึ่งจัดการน้ำในภูมิประเทศและภูมิอากาศบ้านเราได้เก่งกว่าฝรั่งเสียอีก มีความรู้หลากหลายที่จะคัดง้างกัน และสร้างสมดุลแก่กันและกันขึ้น

เช่นเดียวกับที่เชื่อว่าความรู้ไม่ทำให้ทะเลาะกัน ในขณะที่ความเห็นมีแต่ก่อให้เกิดการทะเละกัน ผมไม่เชื่ออย่างนั้น ความรู้ก็ทำให้ทะเลาะกันได้เหมือนกัน อย่างเช่นการใช้หรือไม่ใช่พืชจีเอมโอในการเกษตรนั่นเป็นไร แต่การทะเลาะไม่แปรเป็นการถกเถียง เพราะฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่แบความรู้และกระบวนการสร้างความรู้ของตนออกมาให้แก่การตรวจสอบต่างหาก

ความขัดแย้งในเชิงทะเลาะจึงเกิดจากกติกาความสัมพันธ์ของสังคมไทยปัจจุบันต่างหาก โดยเฉพาะในหมู่คนชั้นกลาง อำนาจนิยมกลายเป็นวัฒนธรรมของคนไทยที่มีการศึกษา แม้แต่ในหมู่นักวิชาการเอง การถกเถียงก็มักถูกยกระดับขึ้นมาเป็นการทะเลาะอยู่เสมอ

ถึงแม้ผมยอมรับความแตกต่างของความรู้และความเห็น แต่ผมก็ยังอยากยืนยันอยู่นั่นเองว่าสองอย่างนี้แยกขาดจากกันไม่ได้ และไม่ได้มีสถานะที่เหลื่อมล้ำกัน การไปเน้นที่ความต่าง กลับจะทำให้เกิดการปิดปากคนหมู่มาก ในขณะที่ "อำนาจ" สามารถตกแต่งความเห็นให้กลายเป็นความรู้ได้ง่ายมาก ก็เราไม่เคยขาดนักวิชาการในตลาดสำหรับซื้อหาไว้ใช้สอยไม่ใช่หรือ

ผมไม่คิดว่านักวิชาการแตกต่างจากคนในอาชีพอื่น เขาก็ใช้ความเห็นเหมือนคนอื่น เพียงแต่อาชีพของเขาคือการสร้างความรู้ขึ้นมาจากความเห็น เขาต้องวิพากษ์ฐานคิดของความรู้ ปรับปรุงฐานคิดหรือความเห็นนั้นให้ดีขึ้น หาข้อมูล วิเคราะห์สังเคราะห์จนสร้างความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ขึ้นมา แล้วก็เสนอในลักษณะที่ตรวจสอบได้เพื่อให้คนอื่นพิจารณา

ไม่ต่างจากช่างตัดผมหรือคนเลี้ยงไก่ คือผลิตอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม เท่านั้นเองจริงๆ

ผมมีอะไรนอกเรื่องแต่สัมพันธ์กับเรื่องที่คุยมานี้อยู่ด้วย นั่นก็คือ เรื่อง "ความรู้คู่คุณธรรม" ซึ่งเป็นเป้าหมายหนึ่งใน พ.ร.บ.การศึกษา ผมได้ยินคนพูดเรื่องนี้เหมือนเป็นสองอย่างที่แยกจากกันได้ คือความรู้อย่างหนึ่งและคุณธรรมอีกอย่างหนึ่ง

อันที่จริงคุณธรรมเป็นฐานคิดหรือความเห็นชนิดหนึ่ง (เช่นการฆ่าเป็นบาป หรือการฆ่าทำให้สังคมตั้งอยู่ไม่ได้) ฉะนั้น ความรู้ที่เกิดจากการใช้คุณธรรมเป็นฐานคิด จึงมีลักษณะอย่างหนึ่งซึ่งแตกต่างจาก "ความรู้" ที่เรานำเข้าจากเมืองฝรั่ง เพราะคุณธรรม (ดี-ชั่ว) เป็นสิ่งที่ต้องตัดออกไปจากฐานคิดในการสร้าง "ความรู้" แบบนั้น

ฉะนั้น "ความรู้คู่คุณธรรม" ที่แท้จริงจึงนำมาซึ่งการสร้าง "ความรู้" อีกชนิดหนึ่ง ซึ่งผมไม่แน่ใจว่ายังเป็นที่ต้องการของนักการศึกษา, นักธุรกิจ, ข้าราชการ และนักการเมือง อยู่จริงหรือ ?